เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [1. คหปติวรรค] 5. ชีวกสูตร

เนื้อที่ควรฉันและไม่ควรฉัน

[52] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชีวก ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลาย
ฆ่าสัตว์เจาะจงถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ทรงทราบการนั้น แต่ก็ยัง
เสวยเนื้อที่เขาฆ่าเจาะจงพระองค์ ที่เขาอาศัยพระองค์ทำ’ ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าพูด
ตรงตามที่เรากล่าวไว้ แต่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ที่ไม่มีอยู่
เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุไม่ควรฉันไว้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ
1. เนื้อที่ตนเห็น1
2. เนื้อที่ตนได้ยิน
3. เนื้อที่ตนสงสัย
รากล่าวเนื้อที่ภิกษุไม่ควรฉันไว้ด้วยเหตุ 3 ประการนี้แล
เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุควรฉันไว้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ
1. เนื้อที่ตนไม่เห็น
2. เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน
3. เนื้อที่ตนไม่สงสัย
ชีวก เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุควรฉันไว้ด้วยเหตุ 3 ประการนี้แล

การแผ่เมตตา

[53] ชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เธอ
มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 อยู่ ทิศที่ 2 ... ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4 ... ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ด้วยประการ
อย่างนี้ คหบดีหรือบุตรคหบดีเข้าไปหาเธอแล้วนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [1. คหปติวรรค] 5. ชีวกสูตร

เมื่อภิกษุต้องการจึงรับนิมนต์ เมื่อล่วงราตรีนั้นไป ในเวลาเช้า เธอครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของคหบดีหรือบุตรคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นอังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต เธอไม่คิดอย่างนี้ว่า
‘ดีจริง คหบดีหรือบุตรคหบดีนี้พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีต’ ทั้งไม่คิด
อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ คหบดีหรือบุตรคหบดีจึงจะอังคาสเราด้วยบิณฑบาต
อันประณีตเช่นนี้ตลอดไป’ เธอไม่กำหนัด ไม่ยินดี ไม่รีบฉันบิณฑบาตนั้น มีปกติ
เห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออกจากทุกข์ ฉันอยู่
ชีวก เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน
ตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง หรือเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้างหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ในคราวนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษเลย ใช่หรือไม่”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาแล้วว่า
‘พรหมมีปกติอยู่ด้วยเมตตา’ คำกล่าวที่เพียงได้ยินมานี้ข้าพระองค์เห็นว่าพระผู้มี
พระภาคทรงเป็นพยานได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเองก็ทรงมีปกติอยู่ด้วยเมตตา”
“ชีวก บุคคลจะพึงมีความพยาบาทเพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ
โมหะนั้นตถาคตละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ชีวก หากเธอกล่าวหมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะนี้ เราเห็นด้วย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์กล่าวหมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะ
นี้แล พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :50 }