เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 1. พรหมายุสูตร

28. มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนกการเวก ข้อที่
ท่านพระโคดมมีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนก
การเวกนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
29. มีพระเนตรดำสนิท ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระเนตรดำสนิทนี้ เป็น
ลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
30. มีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด ข้อที่ท่านพระโคดมมี
ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอดนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ
ของมหาบุรุษนั้น
31. มีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนปุยนุ่น ข้อที่ท่าน
พระโคดมมีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนปุยนุ่นนี้
เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
32. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ข้อที่ท่านพระโคดมมี
พระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ
ของมหาบุรุษนั้น
ท่านผู้เจริญ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ
32 ประการนี้แล
[387] ท่านพระโคดมพระองค์นั้น
เมื่อจะทรงดำเนิน ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน ไม่ก้าวพระบาทยาวนัก
ไม่ก้าวพระบาทสั้นนัก ไม่ทรงดำเนินเร็วนัก ไม่ทรงดำเนินช้านัก ขณะทรงดำเนิน
พระชานุกับพระชานุไม่เสียดสีกัน ข้อพระบาทกับข้อพระบาทไม่กระทบกัน ไม่ทรงยก
พระอุรุสูง ไม่ทรงทอดพระอุรุไปข้างหลัง ไม่ทรงกระแทกพระอุรุ ไม่ทรงส่ายพระอุรุ
เมื่อทรงดำเนินพระวรกายส่วนบนไหว ทรงดำเนินไม่ใช้กำลังมาก เมื่อทอดพระเนตร
ทรงเหลียวดูไปทั้งพระวรกาย ไม่ทรงแหงนดู ไม่ทรงก้มดู ขณะทรงดำเนิน ไม่ส่าย
พระเนตร ทรงทอดพระเนตรประมาณชั่วแอก ยิ่งกว่านั้นพระองค์ทรงมีพระญาณทัสสนะ
ไม่มีอะไรขวางกั้นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :478 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 1. พรหมายุสูตร

เมื่อเสด็จเข้าสู่ละแวกบ้าน ไม่ทรงยืดพระวรกาย ไม่ทรงย่อพระวรกาย ไม่ทรง
ห่อพระวรกาย ไม่ทรงส่ายพระวรกาย เสด็จเข้าประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ไม่ไกลนัก
ไม่ใกล้นัก ไม่ประทับนั่งท้าวพระหัตถ์บนพุทธอาสน์ ไม่ทรงพิงพระวรกายที่พุทธอาสน์
เมื่อประทับนั่งในละแวกบ้าน ไม่ทรงคะนองพระหัตถ์ ไม่ทรงคะนองพระบาท
ไม่ประทับนั่งชันพระชานุ ไม่ประทับนั่งซ้อนพระบาท ไม่ประทับนั่งเอาฝ่าพระหัตถ์
ยันพระหนุ(เท้าคาง) เมื่อประทับนั่งในละแวกบ้าน ไม่ทรงครั่นคร้าม ไม่ทรงหวั่นไหว
ไม่ทรงขลาด ไม่ทรงสะดุ้ง ทรงปราศจากโลมชาติชูชัน ทรงพอพระทัยในวิเวก1
เมื่อทรงรับน้ำล้างบาตร ไม่ทรงชูบาตรขึ้นรับ ไม่ทรงลดบาตรลงรับ ไม่ทรง
ยื่นบาตรคอยรับ ไม่ทรงแกว่งบาตรคอยรับ ทรงรับน้ำล้างบาตรไม่น้อยนักไม่มากนัก
ไม่ทรงล้างบาตรดังขลุก ๆ ไม่ทรงล้างบาตรด้วยวิธีหมุน ไม่ทรงวางบาตรที่พื้น
ทรงล้างบนพระหัตถ์
เมื่อทรงล้างพระหัตถ์ก็เป็นอันทรงล้างบาตร เมื่อทรงล้างบาตรก็เป็นอันทรง
ล้างพระหัตถ์ ทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก และทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ให้
น้ำกระเซ็น
เมื่อทรงรับข้าวสุกก็ไม่ทรงชูบาตรขึ้นรับ ไม่ทรงลดบาตรลงรับ ไม่ทรงยื่น
บาตรคอยรับ ไม่ทรงแกว่งบาตรคอยรับ ทรงรับข้าวสุกไม่น้อยนักไม่มากนัก ทรงรับ
กับข้าว เสวยพระกระยาหารพอประมาณกับข้าว ไม่ทรงทำกับข้าวให้เกินกว่าคำข้าว
ทรงเคี้ยวคำข้าวข้างในพระโอษฐ์สองสามครั้งแล้วทรงกลืน ข้าวยังไม่ละเอียด ไม่ทรง
กลืนลงไป ไม่มีข้าวเหลืออยู่ในพระโอษฐ์ จึงน้อมคำข้าวอีกคำหนึ่งเข้าไป ทรงมีปกติ
กำหนดรสอาหารแล้วเสวยอาหาร แต่ไม่ทรงติดในรส

ท่านพระโคดมพระองค์นั้นเสวยพระกระยาหารประกอบด้วยองค์ 8 ประการ คือ
1. ไม่เสวยเพื่อเล่น
2. ไม่เสวยเพื่อมัวเมา
3. ไม่เสวยเพื่อประดับ