เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [4. ราชวรรค] 10. กัณณกัตถลสูตร

2. เป็นผู้มีสุขภาพมีโรคาพาธน้อย ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหาร
สม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญ
เพียร
3. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงใน
ศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
4. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่
5. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น
ทั้งความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ
มหาบพิตร องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร 5 ประการนี้แล1
วรรณะ 4 จำพวกนี้ คือ (1) กษัตริย์ (2) พราหมณ์ (3) แพศย์ (4) ศูทร
ถ้าวรรณะ 4 จำพวกนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร 5 ประการนี้
ข้อนั้นก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่วรรณะ 4 จำพวกตลอดกาลนาน
ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ 4 จำพวกนี้
คือ (1) กษัตริย์ (2) พราหมณ์ (3) แพศย์ (4) ศูทร ถ้าวรรณะ 4 จำพวกนั้นเป็นผู้
ประกอบด้วยองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร 5 ประการนี้ ในข้อนี้ วรรณะ 4 จำพวก
นั้นจะมีอะไรผิดแผกแตกต่างกันเล่า พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร ในข้อนี้ อาตมภาพกล่าวถึงวรรณะทั้ง 4 จำพวก มีความ
แตกต่างกันด้วยความเพียร เปรียบเหมือนสัตว์คู่หนึ่ง เป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้า
ที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาฝึกดีแล้ว แนะนำดีแล้ว หรือว่าสัตว์คู่หนึ่ง