เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [1. คหปติวรรค] 4. โปตลิยสูตร

การตัดโวหาร 8 ประการ

[32] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ธรรม 8 ประการนี้ เป็นไปเพื่อการ
ตัดขาดโวหาร1ในอริยวินัย
ธรรม 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลพึงละการฆ่าสัตว์ได้ เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์
2. บุคคลพึงละการลักทรัพย์ได้ เพราะอาศัยการไม่ลักทรัพย์
3. บุคคลพึงละการพูดเท็จได้ เพราะอาศัยการพูดจริง
4. บุคคลพึงละการพูดส่อเสียดได้ เพราะอาศัยการไม่พูดส่อเสียด
5. บุคคลพึงละความโลภคือความกำหนัดยินดีได้ เพราะอาศัยความไม่โลภ
คือความไม่กำหนัดยินดี
6. บุคคลพึงละการนินทาและการประทุษร้ายได้ เพราะอาศัยการไม่นินทา
และการไม่ประทุษร้าย
7. บุคคลพึงละความโกรธแค้นได้ เพราะอาศัยความไม่โกรธแค้น
8. บุคคลพึงละความดูหมิ่นได้ เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่น
คหบดี ธรรม 8 ประการนี้แล เรากล่าวโดยย่อ มิได้จำแนกให้พิสดาร ย่อม
เป็นไปเพื่อการตัดขาดโวหารในอริยวินัย”
โปตลิยคหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม 8 ประการนี้ พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อ มิได้จำแนกให้พิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อการตัดขาดโวหาร
ในอริยวินัย ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอนุเคราะห์จำแนกธรรม
8 ประการนี้ให้พิสดารแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [1. คหปติวรรค] 4. โปตลิยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
โปตลิยคหบดีทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[33] “เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการฆ่าสัตว์ได้ เพราะ
อาศัยการไม่ฆ่าสัตว์’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ฆ่าสัตว์เพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้ฆ่าสัตว์ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วติเตียนได้1 เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติเป็น
อันหวังได้เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย’ การฆ่าสัตว์นั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์2
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว อาสวะและความเร่าร้อน
ที่ทำความคับแค้น3 เหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการฆ่าสัตว์ได้
เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[34] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการลักทรัพย์ได้เพราะ
อาศัยการไม่ลักทรัพย์’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ลักทรัพย์เพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย