เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 10. เวขณสสูตร

หรือเมืองโน้น’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ยังไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า
‘เธอปรารถนารักใคร่หญิงที่ยังไม่เคยรู้จักทั้งไม่เคยเห็นอย่างนั้นหรือ’ เมื่อถูกถาม
อย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ใช่’
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่า
เลื่อนลอย มิใช่หรือ”
“เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน พระพุทธเจ้าข้า”
“กัจจานะ ท่านก็อย่างนั้นเหมือนกัน กล่าวอยู่แต่เพียงว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม
วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะสูงสุด’
แต่ไม่ได้ชี้วรรณะนั้นให้ชัด”
“ท่านพระโคดม แก้วไพฑูรย์อันงามเกิดเองอย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่าง
เจียระไนดีแล้ว ซึ่งเขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลเหลือง ย่อมส่องแสงสว่างเป็นประกายออกมา
แม้ฉันใด อัตตา1ที่มีวรรณะก็ฉันนั้นเหมือนกัน หลังจากตายไปย่อมเป็นของยั่งยืน”
[279] ''กัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร แก้วไพฑูรย์อันงาม
เกิดเองอย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว ซึ่งเขาวางไว้ที่ผ้ากัมพล
เหลือง ย่อมส่องแสงสว่างเป็นประกายออกมากับหิ่งห้อยในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดา
วรรณะทั้ง 2 นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ หิ่งห้อยในราตรีที่มีเดือนมืดนี้ย่อมส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หิ่งห้อยในราตรีที่มีเดือนมืด กับประทีปน้ำ
มันในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่ากัน”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 10. เวขณสสูตร

“บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ ประทีปน้ำมันในราตรีที่มีเดือนมืด ส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ประทีปน้ำมันในราตรีที่มีเดือนมืด กับกอง
ไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างและ
ประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ กองไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืดส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร กองไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืดกับดาวศุกร์
ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆในเวลาใกล้รุ่ง บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ วรรณะ
ไหนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ ดาวศุกร์ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆในเวลา
ใกล้รุ่งส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ดาวศุกร์ในนภากาศอันกระจ่างปราศจาก
เมฆในเวลาใกล้รุ่งกับดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศอันกระจ่างปราศจาก
เมฆในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างสว่างกว่า
และประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ ดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศอันกระจ่าง
ปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำนี้ส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศ
อันกระจ่างปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ กับดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรง
ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสารทกาลเดือนท้ายแห่งฤดูฝน บรรดาวรรณะ
ทั้ง 2 นี้ วรรณะไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :333 }