เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
8. สมณมุณฑิกสูตร

ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
คือ แม้สมุฏฐานแห่งศีลที่เป็นกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว สมุฏฐานแห่ง
ศีลนี้ควรกล่าวว่า ‘มีจิตเป็นสมุฏฐาน’
จิตดวงไหนเล่า
แท้จริง จิตมีหลายดวง มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ จิตที่ปราศจากราคะ1
ที่ปราศจากโทสะ และที่ปราศจากโมหะ ศีลที่เป็นกุศลมีจิตเหล่านี้เป็นสมุฏฐาน
ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน
คือ แม้ความดับแห่งศีลที่เป็นกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว ภิกษุในธรรม-
วินัยนี้ เป็นผู้มีศีล แต่หาใช่มีเพียงศีลก็พอ2 ยังจะต้องรู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งศีลที่เป็นกุศลเหล่านั้น
บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นกุศล
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
2. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
3. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
4. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ช่างไม้ บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นกุศล


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
8. สมณมุณฑิกสูตร

เสขธรรมว่าด้วยความดำริ

[266] ความดำริที่เป็นอกุศล เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในกาม ความดำริในพยาบาท ความดำริในการเบียดเบียน
เหล่านี้เราเรียกว่า ‘ความดำริที่เป็นอกุศล’
ความดำริที่เป็นอกุศลเหล่านี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
คือ แม้สมุฏฐานแห่งความดำริที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว
สมุฏฐานแห่งความดำรินี้ควรกล่าวว่า ‘มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน’
สัญญาประเภทไหนเล่า
แท้จริง แม้สัญญาก็มีมาก มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ สัญญาในกาม1
สัญญาในพยาบาท สัญญาในการเบียดเบียน ความดำริที่เป็นอกุศลมีสัญญาเหล่านี้
เป็นสมุฏฐาน
ความดำริที่เป็นอกุศลเหล่านี้ ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน
คือ แม้ความดับแห่งความดำริที่เป็นอกุศลนั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน2 ที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ซึ่งเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งความดำริที่เป็น
อกุศล
บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริที่เป็นอกุศล
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น