เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
8. สมณมุณฑิกสูตร

(เรื่องบุรุษ) เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่อง
เบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญ และความเสื่อม อย่างนั้น ๆ
อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ได้เห็นช่างไม้ชื่อปัญจกังคะกำลังเดิน
มาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนว่า
“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดเงียบหน่อย อย่าส่งเสียงอื้ออึง นี้คือช่างไม้ชื่อ
ปัญจกังคะผู้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังเดินมา ท่านเป็นสาวกคนหนึ่งบรรดา
สาวกของพระสมณโคดมผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ผู้อาศัยอยู่ ณ กรุงสาวัตถี
ท่านเหล่านั้นชอบเสียงเบา แนะนำให้พูดกันเบา ๆ สรรเสริญคุณของคนที่พูดเสียง
เบา บางทีช่างไม้ชื่อปัญจกังคะทราบว่าบริษัทเสียงเบา ท่านอาจจะเข้ามาหาก็ได้”
ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นจึงได้พากันนิ่ง

วาทะของปริพาชก

[261] ลำดับนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะได้เข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก
สมณมุณฑิกาบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึง
กันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรได้กล่าวกับช่างไม้
ชื่อปัญจกังคะว่า
“ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการว่า เป็นผู้มี
กุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มี
ใครสู้วาทะได้
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ บุคคลในโลกนี้

1. ไม่ทำกรรมชั่วทางกาย 2. ไม่กล่าววาจาชั่ว
3. ไม่ดำริความดำริชั่ว 4. ไม่ประกอบอาชีพชั่ว

ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แลว่า เป็นผู้มี
กุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มี
ใครสู้วาทะได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :308 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
8. สมณมุณฑิกสูตร

ลำดับนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอุคคาหมาน-
ปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราจักรู้ทั่วถึง
เนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาค” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องที่สนทนาปราศรัย
กับอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรให้พระผู้มีพระภาคฟังทั้งหมด
[262] เมื่อช่างไม้ชื่อปัญจกังคะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสว่า
“ช่างไม้ เมื่อเป็นอย่างนี้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ ก็จักเป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม
มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มีใครสู้วาทะได้
แท้จริง เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่กายก็ยังไม่รู้จัก1 จักทำกรรมชั่ว
ทางกายได้ที่ไหนเล่า นอกจากจะมีเพียงอาการนอนดิ้นรน เด็กอ่อนที่ยังนอน
หงายอยู่ แม้แต่วาจาก็ยังไม่รู้จัก2 จักกล่าววาจาชั่วได้ที่ไหนเล่า นอกจากจะมีเพียงการ
ร้องไห้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่ความดำริก็ยังไม่รู้จัก3 จักดำริชั่วได้แต่
ที่ไหนเล่า นอกจากจะมีการส่งเสียงร้อง เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่การ
เลี้ยงชีพก็ยังไม่รู้จัก4 จักเลี้ยงชีพชั่วได้ที่ไหนเล่า นอกจากการดื่มน้ำนมของมารดา
ช่างไม้ เมื่อเป็นอย่างนี้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ก็จักเป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม
มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มีใครสู้วาทะได้
[263] ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการว่า
มิใช่ผู้มีกุศลเพียบพร้อม มิใช่ผู้มีกุศลยอดเยี่ยม มิใช่สมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควร
บรรลุไม่มีใครสู้วาทะได้ แต่บุรุษบุคคลนี้ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่นอนหงายอยู่บ้าง