เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

ช่างงาหรือลูกมือช่างงาผู้ชำนาญ เมื่อแต่งงาดีแล้ว พึงทำเครื่องงาชนิดที่
ต้องการให้สำเร็จได้
ช่างทองหรือลูกมือช่างทองผู้ชำนาญ เมื่อหลอมทองดีแล้ว พึงทำทอง
รูปพรรณชนิดที่ต้องการให้สำเร็จได้ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อ
ปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้ว
ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดง
เป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไป
ได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้
เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศ
เหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพ
มากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วแสดงฤทธิ์นั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงบรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

4. ทิพพโสตธาตุญาณ

[255] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตามได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ (1) เสียงทิพย์ (2) เสียงมนุษย์ ทั้งที่
อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ คนเป่าสังข์ที่แข็งแรง จะพึงยังคน
ให้รู้ตลอดทิศทั้ง 4 โดยไม่ยาก แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติ
แก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อม
ได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ (1) เสียงทิพย์ (2) เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วได้ยินเสียง 2 ชนิดนั้นแล สาวกทั้งหลาย
ของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :302 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

5. เจโตปริยญาณ

[256] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม กำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือ
จิตมีราคะก็รู้ว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะก็รู้ว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’
จิตมีโมหะก็รู้ว่า ‘จิตมีโมหะ’ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’
จิตหดหู่ก็รู้ว่า ‘จิตหดหู่’ หรือจิตฟุ่งซ่านก็รู้ว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’
จิตเป็นมหัคคตะ1ก็รู้ว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่า ‘จิตไม่
เป็นมหัคคตะ’
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’ หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า
‘จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า’
จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตไม่เป็นสมาธิ’
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’
ชายหนุ่มหญิงสาวที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกใสสะอาด
หรือในภาชนะน้ำใส หน้ามีไฝฝ้าก็รู้ว่า มีไฝฝ้า หรือไม่มีไฝฝ้าก็รู้ว่า ไม่มีไฝฝ้า
แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมกำหนดรู้จิตของสัตว์ และคนอื่นด้วย
จิตของตน คือ
จิตมีราคะก็รู้ว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะก็รู้ว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’
จิตมีโมหะ ... หรือจิตปราศจากโมหะ ...
จิตหดหู่ ... หรือจิตฟุ้งซ่าน ...