เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

6. เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ)
เพราะเจริญโพชฌงค์ 7 ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญอริยมรรคมีองค์ 8
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1. เจริญสัมมาทิฏฐิ 2. เจริญสัมมาสังกัปปะ
3. เจริญสัมมาวาจา 4. เจริญสัมมากัมมันตะ
5. เจริญสัมมาอาชีวะ 6. เจริญสัมมาวายามะ
7. เจริญสัมมาสติ 8. เจริญสัมมาสมาธิ

เพราะเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
[248] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญวิโมกข์(ธรรมเครื่องหลุดพ้น) 8 ประการ1 คือ
1. สาวกผู้มีรูปเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 1
2. สาวกผู้มีอรูปสัญญาภายในเห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็นวิโมกข์
ประการที่ 2
3. สาวกน้อมใจไปว่า ‘งาม’ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 3
4. สาวกบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด
มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 4


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

5. สาวกล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 5
6. สาวกล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์
ประการที่ 6
7. สาวกล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 7
8. สาวกล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 8
เพราะเจริญวิโมกข์ 8 ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุด
แห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
[249] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญอภิภายตนะ1 8 ประการ คือ
1. สาวกผู้หนึ่งมีรูปสัญญาภายใน2 เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 1
2. สาวกผู้หนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 2