เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

“อุทายี เราไม่หวังการพร่ำสอนจากสาวกทั้งหลาย ที่แท้สาวกทั้งหลาย
ย่อมหวังการพร่ำสอนจากเราเท่านั้น การที่สาวกทั้งหลายของเรา
ย่อมสรรเสริญ(เรา)ในอธิปัญญาว่า ‘พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา
ทรงประกอบด้วยพระปัญญาขันธ์อันยิ่ง เป็นไปไม่ได้เลยที่พระสมณ-
โคดมจักไม่ทรงเล็งเห็นถ้อยคำที่ยังไม่มาถึง หรือจักไม่ทรงข่มคำโต้
เถียงของฝ่ายอื่นที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เป็นการถูกต้อง มีเหตุผลดี’ นี้แล
เป็นธรรมประการที่ 3 ซึ่ง เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่
[246] 4. สาวกทั้งหลายของเราผู้ถูกทุกข์ท่วมทับแล้ว ถูกทุกข์ครอบงำแล้ว
เพราะทุกข์ใด เธอเหล่านั้นจึงเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขอริยสัจนั้น
เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึงทุกขอริยสัจก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่า
นั้นมีจิตยินดีแช่มชื่นด้วยการตอบปัญหา เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเรา
แล้วถามถึงทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ถามถึง
ทุกขนิโรธคามินีปฏิทาอริยสัจ เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึงทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่านั้นมีจิตยินดี
แช่มชื่นด้วยการตอบปัญหา การที่สาวกทั้งหลายของเราผู้ถูกทุกข์
ท่วมทับแล้ว ถูกทุกข์ครอบงำแล้วเพราะทุกข์ใด เธอเหล่านั้นจึงเข้า
มาหาเราแล้ว ถามถึงทุกขอริยสัจนั้น เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึง
ทุกขอริยสัจก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่านั้นมีจิตยินดีแช่มชื่นด้วยการ
ตอบปัญหา เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขสมุทัยอริยสัจ
ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจแล้วก็ตอบได้
เราทำให้เธอเหล่านั้นมีจิตยินดีแช่มชื่นด้วยการตอบปัญหา นี้แล
เป็นธรรมประการที่ 4 ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัย
เราอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :290 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

[247] 5. เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติ
ตามย่อมเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
3. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
เพราะเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมี1อยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญสัมมัปปธาน 4 ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. สร้างฉันทะ2 พยายาม ปรารภความเพียร3 ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรม4ที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
2. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
3. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น