เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

เราสรรเสริญ(เรา) ในอธิศีลว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้มีศีล ประกอบ
ด้วยสีลขันธ์อย่างยิ่ง’ นี้แล เป็นธรรมประการที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุให้
สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจาก
สักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่
[244] 2. สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญ(เรา) ในญาณทัสสนะ1อันยอด
เยี่ยมว่า ‘พระสมณโคดมเมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่า ‘เรารู้’ เมื่อทรงเห็น
เองก็ตรัสว่า ‘เราเห็น’ ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดง
เพื่อความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีเหตุ
ทรงแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์’ การที่
สาวกทั้งหลายของเราสรรเสริญ(เรา)ในญาณทัสสนะอันยอดเยี่ยม
ว่า ‘พระสมณโคดมเมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่า ‘เรารู้’ เมื่อทรงเห็นเองก็
ตรัสว่า ‘เราเห็น’ ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดงเพื่อ
ความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีเหตุ
ทรงแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์’ นี้แล
เป็นธรรมประการที่ 2 ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัย
เราอยู่
[245] 3. สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญ(เรา)ในอธิปัญญา2ว่า ‘พระสมณ-
โคดมทรงมีพระปัญญา ทรงประกอบด้วยพระปัญญาขันธ์อันยิ่ง
เป็นไปไม่ได้เลยที่พระสมณโคดมจักไม่ทรงเล็งเห็นถ้อยคำที่ยังไม่มาถึง
หรือจักไม่ทรงข่มคำโต้เถียงของฝ่ายอื่นที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เป็นการ
ถูกต้อง มีเหตุผลดี’ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร มีบ้างไหม
ที่สาวกทั้งหลายของเรา เมื่อรู้ เห็นอย่างนี้ จะพึงพูดสอดขึ้นมา”
“ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

“อุทายี เราไม่หวังการพร่ำสอนจากสาวกทั้งหลาย ที่แท้สาวกทั้งหลาย
ย่อมหวังการพร่ำสอนจากเราเท่านั้น การที่สาวกทั้งหลายของเรา
ย่อมสรรเสริญ(เรา)ในอธิปัญญาว่า ‘พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา
ทรงประกอบด้วยพระปัญญาขันธ์อันยิ่ง เป็นไปไม่ได้เลยที่พระสมณ-
โคดมจักไม่ทรงเล็งเห็นถ้อยคำที่ยังไม่มาถึง หรือจักไม่ทรงข่มคำโต้
เถียงของฝ่ายอื่นที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เป็นการถูกต้อง มีเหตุผลดี’ นี้แล
เป็นธรรมประการที่ 3 ซึ่ง เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่
[246] 4. สาวกทั้งหลายของเราผู้ถูกทุกข์ท่วมทับแล้ว ถูกทุกข์ครอบงำแล้ว
เพราะทุกข์ใด เธอเหล่านั้นจึงเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขอริยสัจนั้น
เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึงทุกขอริยสัจก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่า
นั้นมีจิตยินดีแช่มชื่นด้วยการตอบปัญหา เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเรา
แล้วถามถึงทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ถามถึง
ทุกขนิโรธคามินีปฏิทาอริยสัจ เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึงทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่านั้นมีจิตยินดี
แช่มชื่นด้วยการตอบปัญหา การที่สาวกทั้งหลายของเราผู้ถูกทุกข์
ท่วมทับแล้ว ถูกทุกข์ครอบงำแล้วเพราะทุกข์ใด เธอเหล่านั้นจึงเข้า
มาหาเราแล้ว ถามถึงทุกขอริยสัจนั้น เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึง
ทุกขอริยสัจก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่านั้นมีจิตยินดีแช่มชื่นด้วยการ
ตอบปัญหา เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขสมุทัยอริยสัจ
ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจแล้วก็ตอบได้
เราทำให้เธอเหล่านั้นมีจิตยินดีแช่มชื่นด้วยการตอบปัญหา นี้แล
เป็นธรรมประการที่ 4 ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัย
เราอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :290 }