เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

จึงจะรู้เนื้อความนี้ พวกท่านจงถามเนื้อความนี้กับพวกเราเถิด พวกเราจักอธิบายให้
ท่านฟัง’ เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูปูรณะ กัสสปะยกมือทั้งสองขึ้น แล้วกล่าวขอร้องว่า
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงเงียบเสียงหน่อย อย่าส่งเสียงไปเลย ท่านพวกนี้จะถาม
พวกท่านไม่ได้ แต่ถามเราได้ เราจักอธิบายให้ท่านพวกนี้ฟัง’ ก็ห้ามไม่ได้
อนึ่ง สาวกของครูปูรณะ กัสสปะเป็นอันมาก พากันยกโทษว่า ‘ท่านไม่รู้ทั่ว
ถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้ทั่วถึง ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด
แต่ผมปฏิบัติถูก คำพูดของผมมีประโยชน์ แต่คำพูดของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่
ควรพูดก่อนท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควรพูดภายหลัง ท่านกลับพูดก่อน เรื่องที่
ท่านเคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ผมจับผิดคำพูดของท่านได้แล้ว ผมข่มท่านได้แล้ว
ถ้าท่านมีความสามารถก็จงหาทางแก้ไขคำพูดหรือเปลื้องตนให้พ้นผิดเถิด’ แล้วพา
กันหลีกไป พวกสาวกไม่ยอมสักการะ เคารพ นับถือ บูชาครูปูรณะ กัสสปะด้วย
อาการอย่างนี้ และสาวกทั้งหลาย ไม่สักการะ เคารพแล้ว ก็ไม่อาศัยครูปูรณะ
กัสสปะอยู่ ครูปูรณะ กัสสปะก็ไม่โกรธ เพราะเป็นการตำหนิที่ชอบธรรม’
สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้ครูมักขลิ โคสาลนี้...ครูอชิตะ
เกสกัมพล... ครูปกุธะ กัจจายนะ... ครูสัญชัย เวลัฏฐบุตร... ครูนิครนถ์ นาฏบุตร
ถึงจะเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นคนมีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้า
ลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี แต่สาวกทั้งหลายไม่ยอมสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา และสาวกทั้งหลายสักการะ เคารพแล้ว ก็ไม่อาศัยครูนิครนถ์
นาฏบุตรอยู่
เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูนิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น
สาวกคนหนึ่งของครูนิครนถ์ นาฏบุตรได้ส่งเสียงขึ้นว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อย่าถาม
เนื้อความนี้กับครูนิครนถ์ นาฏบุตรเลย ครูนิครนถ์ นาฏบุตรนี้ไม่รู้เนื้อความนี้
พวกเราสิจึงจะรู้เนื้อความนี้ พวกท่านจงถามเนื้อความนี้กับเราเถิด เราจะอธิบาย
เนื้อความนี้ให้ท่านฟัง’ เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูนิครนถ์ นาฏบุตรยกมือทั้งสองขึ้น
แล้วกล่าวขอร้องว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงเงียบเสียงหน่อย อย่าส่งเสียงไปเลย
ท่านพวกนี้จะถามพวกท่านไม่ได้ แต่ถามเราได้ เราจักอธิบายให้ท่านพวกนี้ฟัง’
ก็ห้ามไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :282 }