เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 6. สันทกสูตร

พรหมจรรย์ที่ควรประพฤติ

[233] ท่านพระอานนท์ตอบว่า “สันทกะ พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นมา
ในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ฯลฯ
ภิกษุนั้นละนิวรณ์ 5 ประการนี้ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ เป็นเครื่องทอนกำลัง
ปัญญาแล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันยิ่งเห็นปานนี้ใน
ศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอย่างยิ่งเห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุผู้มีอุเบกขา บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่
สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอย่างยิ่งเห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอย่างยิ่งเห็นปานนี้ใน
ศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน1 ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 6. สันทกสูตร

เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติ
บ้าง ฯลฯ1 เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้ สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันยิ่งเห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้
สำเร็จได้
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม
จิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม
และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการอย่างนี้ สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันยิ่งเห็นปานนี้ใน
ศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม
จิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้
อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ
ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป’
สันทกะ สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอย่างยิ่งเห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญญูชน
พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูก
ต้องให้สำเร็จได้”