เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 6. สันทกสูตร

ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดานี้
ซึ่งตั้งตนเป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า
‘เมื่อเราเดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะย่อมปรากฏต่อเนื่อง
ตลอดไป’ ศาสดานั้นเข้าไปยังเรือนว่างบ้าง ไม่ได้ก้อนข้าวบ้าง ถูกสุนัขกัดบ้าง พบ
ช้างดุบ้าง พบม้าดุบ้าง พบโคดุบ้าง ถามถึงชื่อและโคตรของหญิงบ้าง ของชายบ้าง
ถามถึงชื่อและหนทางแห่งบ้านบ้าง แห่งนิคมบ้าง ศาสดานั้นเมื่อถูกถามว่า ‘นี่อะไร’
ก็ตอบว่า ‘เราเข้าไปยังเรือนว่างด้วยกิจที่เราจำต้องเข้าไป เราไม่ได้ก้อนข้าวด้วยเหตุ
ที่เราไม่ควรได้ เราเป็นผู้ถูกสุนัขกัดด้วยเหตุที่ควรถูกกัด เราพบช้างดุด้วยเหตุ
ที่ควรพบ เราพบม้าดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราพบโคดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราถามถึง
ชื่อและโคตรของหญิงบ้าง ของชายบ้างด้วยเหตุที่ควรถาม เราถามถึงชื่อและ
หนทางแห่งบ้านบ้าง แห่งนิคมบ้างด้วยเหตุที่ควรถาม’ วิญญูชนรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้
เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจ’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
สันทกะ พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่ 1 ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
[230] สันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เชื่อถือการ
ฟังตามกันมา เป็นผู้เชื่อถือว่าจริงด้วยการฟังตามกันมา ศาสดานั้นจึงแสดงธรรม
ด้วยการฟังตามกันมา ด้วยการถือสืบ ๆ กันมาว่าอย่างนั้น ๆ และด้วยการอ้าง
ตำราหรือคัมภีร์ ศาสดาผู้เชื่อถือด้วยการฟังตามกันมา ผู้เชื่อถือว่าจริงด้วยการฟัง
ตามกันมา ย่อมมีการฟังถูกบ้าง ฟังผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง
ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดานี้
เป็นผู้เชื่อถือการฟังตามกันมา เป็นผู้เชื่อถือว่าจริงด้วยการฟังตามกันมา ท่านศาสดานั้น
จึงแสดงธรรมด้วยการฟังตามกันมา ด้วยการถือสืบ ๆ กันมาว่าอย่างนั้น ๆ และ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :271 }