เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 6. สันทกสูตร

จักอบรมกรรมที่ยังไม่ให้ผลให้อำนวยผล หรือสัมผัสกรรมที่ให้ผลแล้ว จักทำให้
หมดสิ้นไปด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้’ ไม่มีสุขทุกข์ที่ทำให้สิ้นสุดลงได้
(จำนวนเท่านั้นเท่านี้) เหมือนตวงด้วยทะนาน สังสารวัฏที่จะทำให้สิ้นสุดไม่มีเลย
ด้วยอาการอย่างนี้’ ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นสูงหรือเลื่อน
ลงต่ำ พวกคนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง
เหมือนกลุ่มด้ายที่ถูกขว้างไปย่อมคลี่หมดไปได้เอง ฉะนั้น1
ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดาผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สภาวะ 7 กองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต
ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืนมั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่ผันแปร
ไม่กระทบกระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน
สภาวะ 7 กอง อะไรบ้าง คือ

1. กองแห่งธาตุดิน 2. กองแห่งธาตุน้ำ
3. กองแห่งธาตุไฟ 4. กองแห่งธาตุลม
5. กองสุข 6. กองทุกข์
7. กองชีวะ

สภาวะ 7 กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืน
มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่ผันแปร ไม่กระทบกระทั่งกัน
ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน ในสภาวะ 7 กองนั้น
ไม่มีผู้ฆ่า ไม่มีผู้ใช้ให้คนอื่นฆ่า ไม่มีผู้ฟัง ไม่มีผู้ใช้ให้คนอื่นฟัง ไม่มีผู้รู้ ไม่มีผู้ทำให้
คนอื่นรู้ ใครก็ตามแม้จะเอาศัสตราอันคมตัดศีรษะใคร ก็ไม่ชื่อว่าปลงชีวิตใครได้
เพราะเป็นเพียงศัสตราแทรกผ่านไประหว่างสภาวะ 7 กองเท่านั้นเอง อนึ่ง กำเนิด
ที่เป็นประธาน 1,406,600 กรรม 500 กรรม 5 กรรม 3 กรรมกึ่ง
ปฏิปทา 62 อันตรกัป 62 อภิชาติ 6 ปุริสภูมิ 8 อาชีวก 4,900


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 6. สันทกสูตร

ปริพาชก 4,900 นาควาส 4,900 อินทรีย์ 2,000 นรก 3,000 รโชธาตุ 36
สัญญีครรภ์ 7 อสัญญีครรภ์ 7 นิคัณฐีครรภ์ 7 เทวดา 7 มนุษย์ 7 ปีศาจ 7
สระ 7 ตาไม้ไผ่ 7 (ตาไม้ไผ่ 700) เหวใหญ่ 7 เหวน้อย 700 มหาสุบิน 7
สุบิน 700 มหากัป 8,400,000 เหล่านี้ ที่คนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียน
ว่ายไปแล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้เอง ไม่มีความสมหวังในความปรารถนาว่า ‘เราจัก
อบรมกรรมที่ยังไม่ให้ผลให้อำนวยผล หรือสัมผัสกรรมที่ให้ผลแล้ว จักทำให้หมด
สิ้นไปด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้’ ไม่มีสุขทุกข์ที่ทำให้สิ้นสุดลงได้
(จำนวนเท่านั้นเท่านี้)เหมือนตวงด้วยทะนาน สังสารวัฏที่จะทำให้สิ้นสุดไม่มีเลยด้วย
อาการอย่างนี้ ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นสูงหรือเลื่อนลงต่ำ
พวกคนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เอง
เหมือนกลุ่มด้ายที่ถูกขว้างไปย่อมคลี่หมดไปได้เอง ฉะนั้น’
ถ้าคำของท่านศาสดานี้เป็นจริง ในลัทธินี้กรรมที่เราไม่ได้ทำเลยชื่อว่าเป็นอัน
ทำแล้ว พรหมจรรย์ที่เราไม่ได้อยู่ประพฤติเลย ชื่อว่าเป็นอันอยู่ประพฤติแล้ว แม้เรา
ทั้งสองชื่อว่าเป็นผู้เสมอ ๆ กัน และถึงความเท่าเทียมกันในลัทธินี้ แต่เราไม่กล่าวว่า
‘หลังจากตายแล้ว แม้เราทั้งสองก็จักขาดสูญ ไม่เกิดอีก’ การที่ท่านศาสดานี้เป็นผู้
ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผม
และหนวด เป็นการปฏิบัติเกินไป เราเมื่ออยู่ครองเรือนนอนเบียดเสียดกับบุตรภรรยา
ประพรมผงแก่นจันทน์เมืองกาสี ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทอง
และเงินอยู่ จึงเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กันกับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไร
เห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้’ วิญญูชนนั้นรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้
ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
ลัทธินี้ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นลัทธิที่ 4 ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :269 }