เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 6. สันทกสูตร

แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้
ผู้อื่นบูชา เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจาก
การให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม และจากการพูดคำสัตย์ ไม่มี
บุญมาถึงเขา’
ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดา
ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้
ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้
เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน
ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว
ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม และจากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :264 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 6. สันทกสูตร

ถ้าคำของท่านศาสดานี้เป็นจริง ในลัทธินี้กรรมที่เราไม่ได้ทำเลยชื่อว่าเป็นอัน
ทำแล้ว พรหมจรรย์ที่เราไม่ได้อยู่ประพฤติเลย ชื่อว่าเป็นอันอยู่ประพฤติแล้ว แม้เรา
ทั้งสองชื่อว่าเป็นผู้เสมอ ๆ กัน และถึงความเท่าเทียมกันในลัทธินี้ แต่เราไม่กล่าวว่า
‘หลังจากตายแล้ว แม้เราทั้งสองก็จักขาดสูญ ไม่เกิดอีก’ การที่ท่านศาสดานี้เป็น
ผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผม
และหนวด เป็นการปฏิบัติเกินไป เราเมื่ออยู่ครองเรือนนอนเบียดเสียดกับบุตรภรรยา
ประพรมผงแก่นจันทน์เมืองกาสี ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทอง
และเงินอยู่ จึงเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กันกับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไร
เห็นอะไรอยู่จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนนั้นรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้ไม่
ใช่การประพฤติพรหมจรรย์’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
สันทกะ ลัทธินี้ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย
ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นลัทธิที่ 2 ที่พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
[227] สันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
เศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
บริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของมนุษย์ ไม่มีความ
พยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง1 ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มี
ความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะ
เฉพาะตน ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง 62
ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดา
ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มี
ปัจจัย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มี
ปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของ