เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 6. สันทกสูตร

“ท่านทั้งหลาย โปรดเงียบหน่อย อย่าส่งเสียงอื้ออึง นี้คือสาวกของพระ
สมณโคดมชื่อว่าอานนท์กำลังเดินมา ท่านเป็นสาวกรูปหนึ่งบรรดาสาวกของพระ
สมณโคดมผู้อาศัยอยู่ ณ กรุงโกสัมพี ท่านเหล่านั้นชอบเสียงเบา แนะนำให้พูดกัน
เบา ๆ กล่าวสรรเสริญเสียงเบา บางทีท่านอานนท์ทราบว่าบริษัทเสียงเบา ท่าน
อาจจะเข้ามาก็ได้”
ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นจึงได้พากันนิ่ง

พระอานนท์กล่าวธรรมีกถา

[224] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาสันทกปริพาชกถึงที่อยู่ สันทก-
ปริพาชกจึงกล่าวเชื้อเชิญว่า “ท่านพระอานนท์ ขอเชิญท่านพระอานนท์เข้ามาเถิด
ขอต้อนรับ นาน ๆ ท่านพระอานนท์จะมีเวลามาที่นี้ ขอเชิญท่านพระอานนท์จง
นั่งเถิด อาสนะนี้ที่ปูลาดไว้แล้ว ขอรับ”
ท่านพระอานนท์จึงนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว แม้สันทกปริพาชกก็เลือกนั่ง
ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า ท่านพระอานนท์ได้ถามสันทกปริพาชกว่า
“สันทกะ บัดนี้ ท่านทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เรื่องอะไรที่ท่าน
ทั้งหลายสนทนากันค้างไว้”
“ท่านพระอานนท์ เรื่องที่ข้าพเจ้าทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันในเวลานี้ขอ
งดไว้ก่อนเถิด เรื่องนั้นท่านพระอานนท์จักฟังได้ในภายหลังโดยไม่ยาก ดีละ ขอท่าน
พระอานนท์จงแสดงธรรมีกถาในลัทธิอาจารย์ของตนให้แจ่มแจ้งเถิด”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
สันทกปริพาชกรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า “สันทกะ ลัทธิอัน
ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ 4 ลัทธินี้ และพรหมจรรย์ที่ไม่น่าไว้วางใจ 4 ประการ
ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสไว้แล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :261 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 6. สันทกสูตร

สันทกปริพาชกถามว่า “ท่านพระอานนท์ ลัทธิอันไม่ใช่การประพฤติ
พรหมจรรย์ 4 ลัทธิ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรม
ที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วนั้น เป็นอย่างไร”

ลัทธิอันไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์

[225] ท่านพระอานนท์ตอบว่า “สันทกะ ศาสดาบางท่านในโลกนี้ ผู้มี
วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การ
เซ่นสรวงก็ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติ
ปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็
ไม่มีในโลก มนุษย์คือที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป 4 เมื่อสิ้นชีวิต ธาตุดินไปตาม
ธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม
อินทรีย์ทั้งหลายย่อมแปรผันไปเป็นอากาสธาตุ มนุษย์มีเตียงนอนเป็นที่ 5 นำศพไป1
ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกขาวโพลนดุจสีนกพิราบ การเซ่นสรวง
สิ้นสุดลงแค่เถ้าถ่าน คนเขลาบัญญัติทานนี้ไว้ คำที่คนบางพวกย้ำว่ามีผลนั้น
ว่างเปล่า เท็จ ไร้สาระ เมื่อสิ้นชีวิตไม่ว่าคนเขลาหรือคนฉลาดย่อมขาดสูญไม่เกิดอีก’
ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดา
ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล
การเซ่นสรวงก็ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้า
ไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติ
ปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งก็
ไม่มีในโลก มนุษย์คือที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป 4 เมื่อสิ้นชีวิต ธาตุดินไปตาม
ธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม