เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 5. มาคัณฑิยสูตร

มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพบุตรนั้นมีหมู่นางอัปสร
แวดล้อม อยู่ในสวนนันทวัน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 ประการ บำเรอ
ตนอยู่ จะพึงกระหยิ่มต่อคหบดีหรือบุตรของคหบดีโน้น หรือต่อกามคุณ 5 ประการ
ของมนุษย์ หรือจะเวียนกลับมาหากามของมนุษย์ไหม”
“ไม่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกามที่เป็นทิพย์เป็นสิ่งที่น่าใคร่
ยิ่งกว่าและประณีตยิ่งกว่ากามของมนุษย์”
“มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน
เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 ประการ บำเรอตนอยู่ ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ
ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึง
รู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วย
กามคุณ 5 ประการ บำเรอตนอยู่ ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
สมัยต่อมา เรารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด
กามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่
เรานั้นเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหา
เกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราจึงไม่
กระหยิ่มต่อสัตว์เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
อันเข้าถึงความสุขที่เป็นทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่ำ และไม่ยินดีในความ
สุขขั้นต่ำนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :250 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 5. มาคัณฑิยสูตร

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนเป็นโรคเรื้อน

[213] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัว
พุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน มิตร
อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้นั้น
พึงประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน หายจากโรคร้าย
มีความสบายขึ้น ลุกเดินได้เอง ไปไหนมาไหนได้เองตามความพอใจ บุรุษนั้นเห็น
บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อนคนอื่น มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลาย
ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะพึงกระหยิ่มต่อบุรุษ
ผู้เป็นโรคเรื้อนคนโน้น ต่อหลุมถ่านเพลิง หรือต่อการกล้ำกลืนฝืนใช้ยา ใช่หรือไม่”
“ไม่ใช่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อยังมีโรค กิจที่เกี่ยวกับ
การใช้ยาก็ต้องมี เมื่อหายโรค กิจที่เกี่ยวกับยาก็หมดไป”
“มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน
เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 ประการ บำเรอตนด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ด้วยเสียง
ที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น
ฯลฯ เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 ประการ
บำเรอตนอยู่ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
สมัยต่อมา เรารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด
กามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่
เรานั้นเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหา
เกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราจึงไม่
กระหยิ่มต่อสัตว์เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :251 }