เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 10. กีฏาคิริสูตร

ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรม
ทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้วควรเพื่อพินิจโดยประมาณด้วยปัญญาของผู้นั้น
อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์(อินทรีย์คือศรัทธา) วิริยินทรีย์
(อินทรีย์คือวิริยะ) สตินทรีย์(อินทรีย์คือสติ) สมาธินทรีย์(อินทรีย์คือสมาธิ)
ปัญญินทรีย์(อินทรีย์คือปัญญา) ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นธัมมานุสารี
เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี
ถ้าท่านผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ
จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (6)
ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ผู้นั้นมี
แต่เพียงความเชื่อ ความรักในตถาคต
อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นสัทธานุสารี เรากล่าวว่า
‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :211 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 10. กีฏาคิริสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี
ถ้าท่านผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ
จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (7)

การดำรงอยู่ในอรหัตตผล

[183] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการบรรลุอรหัตตผลด้วยขั้นเดียวเท่านั้น
แต่การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขา1โดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญ
กิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ
การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขาโดยลำดับ ด้วยการ
บำเพ็ญกิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในศาสนานี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปหา เมื่อเข้าไปหาย่อม
นั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ เงี่ยโสตลงสดับแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟัง
ธรรมแล้วย่อมทรงจำไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว เมื่อพิจารณา
เนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรเพ่งพินิจ เมื่อมีการเพ่งพินิจธรรมอยู่ ฉันทะ
ย่อมเกิด กุลบุตรนั้นเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง
ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมอุทิศกายและใจ เมื่ออุทิศกายและใจแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง
สัจจะอันยอดเยี่ยม2ด้วยนามกาย และเห็นแจ่มแจ้งสัจจะอันยอดเยี่ยมนั้นด้วย
ปัญญา3