เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 9. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรรู้อภิสมาจาริก-
ธรรม1 ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่รู้อภิสมาจาริก-
ธรรม จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว
สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่รู้อภิสมาจาริกธรรม’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุ
นั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรรู้
อภิสมาจาริกธรรม (3)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านเช้านัก
ไม่ควรกลับมาสายนัก ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์
เข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับ
การสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ ที่เข้าบ้านเช้านัก
กลับมาสายนัก’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านเช้านัก ไม่ควรกลับมาสายนัก (4)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเที่ยวไปใน
ตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร ในเวลาหลังฉันภัตตาหาร ถ้าภิกษุผู้ถือ
การอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายในเวลาก่อน
ฉันภัตตาหาร ในเวลาหลังฉันภัตตาหาร จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘ท่านผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร ผู้สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียวนี้ ได้ทำการเที่ยวไปในเวลาวิกาลไว้มากแน่
อนึ่ง เพื่อนพรหมจารีก็จะกล่าวทักท้วงเธอผู้ไปในสงฆ์ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเที่ยว
ไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร ในเวลาหลังฉันภัตตาหาร (5)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 9. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย
คะนองวาจา ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้
คะนองกาย คะนองวาจา จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘ท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ผู้สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียวนี้ ได้ทำการคะนองกาย คะนองวาจาไว้มากแน่ อนึ่ง
เพื่อนพรหมจารีก็จะกล่าวทักท้วงเธอผู้ไปกับสงฆ์ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควร
คะนองกาย คะนองวาจา (6)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้มีปากกล้า
ไม่ควรเป็นผู้มีวาจาจัดจ้าน ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์
เป็นผู้มีปากกล้า เป็นผู้มีวาจาจัดจ้าน จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์
อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้แต่เป็น
ผู้มีปากกล้า เป็นผู้มีวาจาจัดจ้าน’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้
ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเป็นผู้มีปากกล้า เป็นผู้
มีวาจาจัดจ้าน (7)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ว่าง่าย
เป็นกัลยาณมิตร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็น
ผู้ว่ายาก เป็นบาปมิตร จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัคร
ใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้ว่ายาก เป็น
บาปมิตร’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อ
ไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงควรเป็นผู้ว่าง่าย เป็นกัลยาณมิตร (8)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีผู้
ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับ
ท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย’ จะมีผู้ติเตียน
ภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็นผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย (9)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :197 }