เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 7. จาตุมสูตร

พรั่งพร้อม บำเรอตนด้วยกามคุณ 5 ประการ คิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน เราเป็น
คฤหัสถ์ผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม บำเรอตนด้วยกามคุณ 5 ประการ โภคทรัพย์ใน
ตระกูลของเราก็มีอยู่พร้อม เราสามารถที่จะใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญได้' เธอจึง
บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวอาวัฏฏภัย บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า
อาวัฏฏภัย นี้ เป็นชื่อเรียกกามคุณ 5 ประการ
[165] สุสุกาภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
‘เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตกอยู่ใน
กองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด จะพึง
ปรากฏ’ เธอบวชอยู่อย่างนี้ ในเวลาเช้าครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตำบล ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา มีสติไม่ตั้งมั่น
ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นมาตุคาม(สตรี)ในหมู่บ้านหรือนิคมนั้น นุ่งไม่เรียบร้อย
หรือห่มไม่เรียบร้อย ราคะรบกวนจิตของเธอ เพราะเห็นมาตุคามนุ่งไม่เรียบร้อย
หรือห่มไม่เรียบร้อย เธอมีจิตฟุ้งซ่านเพราะราคะ จึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวสุสุกาภัย บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า
สุสุกาภัย นี้ เป็นชื่อเรียกมาตุคาม
ภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 ประการนี้แล ที่กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย นี้พึงประสบ1”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จาตุมสูตรที่ 7 จบ