เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 5. ภัททาลิสูตร

อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่เป็นรัตตัญญู
เมื่อสงฆ์เป็นรัตตัญญู1 อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างจึงเกิดในสงฆ์ ศาสดาจะบัญญัติ
สิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อขจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น
[146] ภัททาลิ สมัยใด เราแสดงธรรมบรรยายเปรียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่ม
แก่เธอทั้งหลาย สมัยนั้น เธอทั้งหลายยังมีจำนวนน้อย ภัททาลิ เธอยังระลึกถึงธรรม
บรรยายนั้น ได้อยู่หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ในการระลึกไม่ได้นั้น เธออาศัยเหตุอะไรเล่า”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะข้าพระองค์มิได้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของ
พระศาสดาให้บริบูรณ์เป็นเวลานานมาแล้วแน่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภัททาลิ ความเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์นี้ จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ก็หามิได้ แต่เรากำหนดรู้ด้วยจิตจึงรู้จักเธอมานานแล้วว่า ‘เมื่อเราแสดงธรรมอยู่
โมฆบุรุษนี้ไม่ตั้งใจ ไม่ใส่ใจ ไม่เอาใจจดจ่อ ไม่เงี่ยโสตสดับธรรม’ แต่เราก็จักแสดง
ธรรมบรรยายเปรียบเทียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่มแก่เธออีก เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
ท่านพระภัททาลิทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

องค์คุณของภิกษุผู้เป็นเนื้อนาบุญ

[147] “ภัททาลิ เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ชำนาญ ได้ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีแล้ว
ครั้งแรกทีเดียวฝึกให้มันรู้เรื่องในการสวมบังเหียน เมื่อเขากำลังฝึกให้มันรู้เรื่องในการ
สวมบังเหียน มันก็พยศ สบัด ดิ้นรน อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนม้าที่ยังไม่เคย
ฝึก ม้านั้นหมดพยศได้เพราะได้รับการฝึกบ่อย ๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดย
ลำดับ เมื่อม้าอาชาไนยพันธุ์ดีหมดพยศลงได้ เพราะได้รับการฝึกบ่อย ๆ เพราะได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 5. ภัททาลิสูตร

รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ คนฝึกม้าก็จะฝึกให้มันรู้เรื่องอื่นต่อไปอีก เช่น ฝึก
เทียมแอก เมื่อเขากำลังฝึกให้มันรู้เรื่องในการเทียมแอก มันก็จะพยศ สบัด ดิ้นรน
อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนม้าที่ไม่เคยฝึก ม้านั้นหมดพยศลงได้เพราะได้รับการฝึก
บ่อย ๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีหมดพยศลงได้
เพราะได้รับการฝึกบ่อย ๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ คนฝึกม้าก็จะ
ฝึกให้มันรู้เรื่องอื่นต่อไปอีก คือ

1. การเหยาะย่าง 2. การวิ่งเป็นวงกลม
3. การจรดกีบ 4. การวิ่ง
5. การใช้เสียงร้องให้เป็นประโยชน์ 6. คุณสมบัติได้เป็นราชนิยม
7. ความเป็นวงศ์พญาม้า 8. ความว่องไวชั้นเยี่ยม
9. การเป็นม้าชั้นเยี่ยม 10. การเป็นม้าที่ควรแก่การชมเชย
อย่างยิ่ง

เมื่อคนฝึกม้าฝึกให้มันรู้เรื่องในความว่องไวชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม
ในการเป็นม้าควรแก่การชมเชยอย่างยิ่ง ม้านั้นก็จะพยศ สบัด ดิ้นรน อย่างใด
อย่างหนึ่ง เหมือนม้าที่ยังไม่เคยฝึก ม้านั้นหมดพยศลงได้เพราะได้รับการฝึกอยู่
บ่อยๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ ในการขี่ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีซึ่งหมด
พยศลงนั้น คนฝึกม้าก็จะเพิ่มการฝึกให้มีคุณภาพ ให้มีกำลังขึ้น ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี
ประกอบด้วยองค์ 10 ประการนี้แล จึงเป็นม้าควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่า
เป็นราชพาหนะโดยแท้ แม้ฉันใด
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก

ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นอเสขะ
2. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะอันเป็นอเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :163 }