เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 4. มหามาลุงกยสูตร

อรูปฌาน 4

อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน
เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดุจคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า
เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่อ
อมตธาตุว่า ‘สภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’
เธอดำรงอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ 5 ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น
ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
นี้แล เป็นมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อมพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลาย คือเวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ฯลฯ
เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคอย
ก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดุจคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย
เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว
จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘สภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความสงบระงับสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :148 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 4. มหามาลุงกยสูตร

ทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด
ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็น
โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
ในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
นี้แล เป็นมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ถ้ามรรคและปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ 5 ประการ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้
บางพวกจึงเป็นเจโตวิมุต1 บางพวกจึงเป็นปัญญาวิมุต2 พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวว่าภิกษุเหล่านั้น
มีอินทรีย์ต่างกัน3”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหามาลุงกยสูตรที่ 4 จบ