เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 4. มหามาลุงกยสูตร

ข้อปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์

[132] อานนท์ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลไม่อาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไป
เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์
5 ประการได้ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลไม่ถากเปลือก ไม่ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่
ประเภทยืนต้นมีแก่นแล้ว จักตัดแก่นเลยทีเดียว แม้ฉันใด เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคล
ไม่อาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการแล้ว จักรู้
จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นไปได้ที่บุคคลอาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์
5 ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการนั้นได้ เป็นไปได้
ที่บุคคลถากเปลือก ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่นแล้ว จักตัด
แก่นนั้นได้ แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่บุคคลอาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ 5 ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการนั้นได้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แม่น้ำคงคามีน้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)ดื่มกินได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย
มาด้วยหวังว่า ‘เราจักว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี’ เขาจะ
ไม่อาจว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ แม้ฉันใด คนบางคน
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระธรรมกถึกแสดงธรรมเพื่อดับสักกายะอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่หลุดพ้น พึงเห็นบุคคลเหล่านั้นเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง น้อยนั้น
อานนท์ แม่น้ำคงคามีน้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)ดื่มกินได้ บุรุษผู้มีกำลังมาก
มาด้วยหวังว่า ‘เราจักว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี’ เขาจะ
ไม่อาจว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ แม้ฉันใด คนบางคน
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระธรรมกถึกแสดงธรรมเพื่อดับสักกายะอยู่ จิตย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่น หลุดพ้น พึงเห็นบุคคลเหล่านั้นเหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :146 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 4. มหามาลุงกยสูตร

รูปฌาน 4

[133] มรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละอกุศลธรรมทั้งหลายด้วยอุปธิวิเวก1 เพราะ
ระงับความเกียจคร้านทางกายได้โดยประการทั้งปวง จึงสงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอย่อม
พิจารณาเห็น2ธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีอยู่ใน
ปฐมฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร
เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดุจคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้อง
แตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขาร
ทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด
ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ3
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น
จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก4
นี้แล เป็นมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุจึงบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น ฯลฯ
เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ