เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 3. จูฬมาลุกยสูตร

บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
เป็นคนสูง ต่ำ หรือปานกลาง ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
เป็นคนผิวดำ ผิวคล้ำ หรือผิวสองสี ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
อยู่ในบ้าน นิคม หรือนครชื่อโน้น ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักธนูที่เขาใช้ยิง
เราว่า เป็นชนิดมีแล่ง หรือชนิดเกาทัณฑ์ ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักสายธนูที่เขาใช้
ยิงเราว่า เป็นสายที่ทำด้วยปอ ผิวไม้ไผ่ เอ็น ป่าน หรือเยื่อไม้ ตราบนั้น เราก็จัก
ไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักลูกธนูที่เขาใช้ยิง
เราว่า เป็นธนูที่ทำด้วยไม้เกิดเองหรือไม้คัดปลูก ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้
ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักหางเกาทัณฑ์ที่เขา
ใช้ยิงเราว่า เป็นหางที่เสียบด้วยขนปีกนกแร้ง นกตระกรุม นกเหยี่ยว นกยูง หรือ
นกปากห่าง ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักเกาทัณฑ์ที่เขา
ใช้ยิงเราว่า เป็นสิ่งที่เขาพันด้วยเอ็นวัว เอ็นควาย เอ็นค่าง หรือเอ็นลิง ตราบนั้น
เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักลูกธนูที่เขาใช้ยิง
เราว่า เป็นลูกศรธรรมดา ลูกศรคม ลูกศรหัวเกาทัณฑ์ ลูกศรหัวโลหะ ลูกศรหัว
เขี้ยวสัตว์ หรือลูกศรพิเศษ ตราบนั้นเราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’ ต่อให้บุรุษนั้น
ตายไป เขาก็จะไม่รู้เรื่องนั้นเลย ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :138 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 3. จูฬมาลุกยสูตร

บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสตอบว่า ‘โลก
เที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ตราบนั้น เราก็จักไม่ประพฤติ
พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค’ ต่อให้บุคคลนั้นตายไป ตถาคตก็ไม่ตอบเรื่องนั้น
ฉันนั้นเหมือนกัน
[127] มาลุงกยบุตร เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกเที่ยง’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือ
ก็หามิได้
แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง’ ชาติ(ความเกิด) ชรา
(ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ)
ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) ก็ยังคง
มีอยู่ตามปกติ เราจึงบัญญัติเฉพาะการกำจัดชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกมีที่สุด’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือ
ก็หามิได้
เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กัน
หรือก็หามิได้
แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด’ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ยังคงมีอยู่ตามปกติ เราจึงบัญญัติการกำจัด
ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
เมื่อมีความเห็นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :139 }