เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 2. มหาราหุโลวาทสูตร

[115] อาโปธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อาโปธาตุที่เป็นภายในก็มี อาโปธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
อาโปธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความ
เอิบอาบ คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก
ไขข้อ มูตร หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของ
เฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความเอิบอาบ นี้เรียกว่า อาโปธาตุที่เป็นภายใน
อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) ที่เป็นภายในและอาโปธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็นอาโปธาตุ
นั่นเอง บัณฑิตพึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอาโปธาตุนั้นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุและทำจิต
ให้คลายกำหนัดในอาโปธาตุได้
[116] เตโชธาตุ เป็นอย่างไร
คือ เตโชธาตุที่เป็นภายในก็มี เตโชธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
เตโชธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความ
เร่าร้อน ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้อบอุ่น ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำ
ร่างกายให้ทรุดโทรม ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้เร่าร้อน ธรรมชาติที่เป็น
เครื่องย่อยสิ่งที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และลิ้มรสแล้ว หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่ง
ที่เป็นอุปาทินนกรูปซึ่งเป็นภายในเป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน
นี้เรียกว่า เตโชธาตุที่เป็นภายใน
เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) ที่เป็นภายในและเตโชธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็นเตโชธาตุ
นั่นเอง บัณฑิตพึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :127 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 2. มหาราหุโลวาทสูตร

‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นเตโชธาตุนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ และทำ
จิตให้คลายกำหนัดในเตโชธาตุได้
[117] วาโยธาตุ เป็นอย่างไร
คือ วาโยธาตุที่เป็นภายในก็มี วาโยธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
วาโยธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความ
พัดไปมา คือ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมที่
แล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่ง
ซึ่งเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความพัดไปมา นี้เรียกว่า
วาโยธาตุที่เป็นภายใน
วาโยธาตุ(ธาตุลม) ที่เป็นภายในและวาโยธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็นวาโยธาตุ
นั่นเอง บัณฑิตพึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นวาโยธาตุนั้นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ และทำจิต
ให้คลายกำหนัดในวาโยธาตุได้
[118] อากาสธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อากาสธาตุที่เป็นภายในก็มี อากาสธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
อากาสธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของว่างเปล่า มีความ
ว่างเปล่า คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว
ของลิ้มรส ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มรส และช่องสำหรับ
ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มรส ไหลลงเบื้องต่ำ หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่งที่เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :128 }