เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 1. จูฬราหุโลวาทสูตร

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ไม่เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง
2 ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ กรรมทางกายเห็น
ปานนี้เธอควรทำ
ราหุล เธอแม้เมื่อกำลังทำกรรมทางกาย ก็พึงพิจารณากายกรรมนั้นแลว่า
‘กายกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็น
กำไร มีทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง
กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ เธอพึงละกายกรรมเห็น
ปานนี้เสีย
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราจะทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงเพิ่มพูน
กายกรรมเห็นปานนี้
ราหุล แม้เธอทำกรรมทางกายแล้ว ก็พึงพิจารณากายกรรมนั้นแลว่า
‘กายกรรมที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็น
กำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง
กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ กายกรรมเห็นปานนี้
เธอพึงแสดง เปิดเผย ทำให้ง่าย ในศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
แล้วสำรวมต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :120 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 1. จูฬราหุโลวาทสูตร

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราทำแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงมีปีติ
และปราโมทย์ สำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วย
กายกรรมนั้นแล

ทรงสอนให้พิจารณาวจีกรรม

[110] ราหุล ถ้าเธอปรารถนาจะทำกรรมใดทางวาจา เธอพึงพิจารณา
วจีกรรมนั้นเสียก่อนว่า ‘วจีกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็น
อกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ กรรมทาง
วาจาเห็นปานนี้ เธออย่าทำเด็ดขาด
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ ไม่เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ กรรมทางวาจา
เห็นปานนี้เธอควรทำ
ราหุล เธอแม้เมื่อกำลังทำกรรมทางวาจา ก็พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นแลว่า
‘วจีกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า วจีกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง
วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ เธอพึงละวจีกรรมเห็นปานนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :121 }