เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [1. คหปติวรรค] 10. อปัณณกสูตร

อนึ่ง การกระทำมีผล เขาเห็นว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ ความเห็นนั้นของเขา
จึงเป็นสัมมาทิฏฐิ การกระทำมีผลจริง เขาดำริว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ ความ
ดำรินั้นของเขาจึงเป็นสัมมาสังกัปปะ การกระทำมีผลจริง เขากล่าวว่า ‘การกระทำ
มีผลจริง’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นสัมมาวาจา การกระทำมีผลจริง เขากล่าวว่า
‘การกระทำมีผลจริง’ ผู้นี้ชื่อว่าไม่ทำตนเป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ผู้เป็นกิริยวาทะ
การกระทำมีผลจริง เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ การที่เขาทำให้
ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง และเขาย่อมไม่ยกตน
ข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้ง
ความเป็นผู้ทุศีลแล้วตั้งตนเป็นคนมีศีลดีงาม เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย กุศลธรรม
เป็นอเนกเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ความไม่เป็นข้าศึก
กับพระอริยะ การทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น
ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าการกระทำมีผลจริง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้
หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ถ้าการกระทำไม่มีผลจริง คำของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ก็ย่อม
ได้รับคำสรรเสริญจากวิญญูชนในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้มีศีล เป็นสัมมาทิฏฐิ
เป็นกิริยวาทะ’ ถ้าการกระทำมีผลจริง บุรุษบุคคลนี้ก็จะได้รับคุณในโลกทั้ง 2 คือ
(1) ในปัจจุบันวิญญูชนย่อมสรรเสริญ (2) หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ อย่างนี้
อปัณณกธรรม ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ดีแล้ว แพร่ดิ่งไปทั้งสองฝ่าย
ย่อมละเหตุที่เป็นอกุศลได้ ด้วยประการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :105 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [1. คหปติวรรค] 10. อปัณณกสูตร

เหตุกทิฏฐิกับอเหตุกทิฏฐิ

[100] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
เศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
บริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของมนุษย์ ไม่มีความ
พยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะ1ทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มี
ความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะ
เฉพาะตน ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติ2ทั้ง 6’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีวาทะขัดแย้งโดย
ตรงกับสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์
ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
มีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เอง มีกำลัง มีความเพียร มีความสามารถของ
มนุษย์ มีความพยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง ไม่ใช่ไม่มีอำนาจ
ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและ
ตามลักษณะเฉพาะตน เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง 6’ ท่านทั้งหลายเข้าใจความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ”
พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”