เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 9. สัมมาทิฏฐิสูตร

อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา
เมื่อใด พระอริยสาวกรู้ชัดเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา
และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัยโดย
ประการทั้งปวง ฯลฯ เป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระอริยสาวกก็ชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง มีความเลื่อมใสอันแน่วแน่ใน
ธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้"

เรื่องผัสสะ

[98] ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า "ดีจริง ขอรับ"
แล้วได้ถามปัญหากับท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า "ฯลฯ จะพึงมีอยู่หรือ"
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า "พึงมีอยู่ เมื่อใด พระอริยสาวกรู้ชัดผัสสะ เหตุ
เกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งผัสสะ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งผัสสะ เมื่อนั้น
แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระอริสาวกก็ชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง มีความ
เลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
ผัสสะ เป็นอย่างไร เหตุเกิดแห่งผัสสะ เป็นอย่างไร ความดับแห่งผัสสะ เป็น
อย่างไร ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งผัสสะ เป็นอย่างไร
ผัสสะ 6 ประการนี้ คือ

1. จักขุสัมผัส (สัมผัสทางตา)
2. โสตสัมผัส (สัมผัสทางหู)
3. ฆานสัมผัส (สัมผัสทางจมูก)
4. ชิวหาสัมผัส (สัมผัสทางลิ้น)
5. กายสัมผัส (สัมผัสทางกาย)
6. มโนสัมผัส (สัมผัสทางใจ)

เพราะอายตนะ 6 เกิด เหตุเกิดแห่งผัสสะจึงมี
เพราะอายตนะ 6 ดับ ความดับแห่งผัสสะจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :93 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 9. สัมมาทิฏฐิสูตร

อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งผัสสะ
เมื่อใด พระอริยสาวกรู้ชัดผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งผัสสะ และ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งผัสสะอย่างนี้ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัยโดยประการ
ทั้งปวง ฯลฯ เป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระอริยสาวก
ก็ชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง มีความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระ
สัทธรรมนี้"

เรื่องอายตนะ

[99] ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า "ดีจริง ขอรับ"
แล้วได้ถามปัญหากับท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า "ฯลฯ จะพึงมีอยู่หรือ"
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า "พึงมีอยู่ เมื่อใด พระอริยสาวกรู้ชัดอายตนะ 6
ประการ เหตุเกิดแห่งอายตนะ 6 ประการ ความดับแห่งอายตนะ 6 ประการ
และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอายตนะ 6 ประการ เมื่อนั้น แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระอริยสาวกก็ชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง มีความเลื่อมใสอันแน่วแน่
ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
อายตนะ 6 ประการ เป็นอย่างไร เหตุเกิดแห่งอายตนะ 6 ประการ
เป็นอย่างไร ความดับแห่งอายตนะ 6 ประการ เป็นอย่างไร ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งอายตนะ 6 ประการ เป็นอย่างไร
อายตนะ 6 ประการนี้ คือ
1. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
2. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)
3. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)
4. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
5. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
6. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)
เพราะนามรูปเกิด เหตุเกิดแห่งอายตนะ 6 ประการจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :94 }