เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 9. สัมมาทิฏฐิสูตร

รากเหง้าแห่งอกุศล เป็นอย่างไร
คือ โลภะ(ความโลภ) เป็นรากเหง้าแห่งอกุศล
โทสะ(ความคิดประทุษร้าย) เป็นรากเหง้าแห่งอกุศล
โมหะ(ความหลง) เป็นรากเหง้าแห่งอกุศล
นี้เรียกว่า รากเหง้าแห่งอกุศล
กุศล เป็นอย่างไร

คือ เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นกุศล
เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นกุศล
เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม เป็นกุศล
เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ เป็นกุศล
เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด เป็นกุศล
เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ เป็นกุศล
เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นกุศล
การไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น เป็นกุศล
การไม่ปองร้ายผู้อื่น เป็นกุศล
สัมมาทิฏฐิ เป็นกุศล
นี้เรียกว่า กุศล

รากเหง้าแห่งกุศล เป็นอย่างไร
คือ อโลภะ(ความไม่โลภ) เป็นรากเหง้าแห่งกุศล
อโทสะ(ความไม่คิดประทุษร้าย) เป็นรากเหง้าแห่งกุศล
อโมหะ(ความไม่หลง) เป็นรากเหง้าแห่งกุศล
นี้เรียกว่า รากเหง้าแห่งกุศล
เมื่อใด พระอริยสาวกรู้ชัดอกุศลและรากเหง้าแห่งอกุศลอย่างนี้ รู้ชัดกุศลและ
รากเหง้าแห่งกุศลอย่างนี้ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย(กิเลสที่นอนเนื่องคือราคะ)
บรรเทาปฏิฆานุสัย(กิเลสที่นอนเนื่องคือปฏิฆะ) ถอนทิฏฐานุสัย(กิเลสที่นอนเนื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :83 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 9. สัมมาทิฏฐิสูตร

คือทิฏฐิ)และมานานุสัย(กิเลสที่นอนเนื่องคือมานะ)ที่ว่า 'เป็นเรา' โดยประการ
ทั้งปวง ละอวิชชาได้แล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้น แล้วเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันนี้เอง
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระอริยสาวกก็ชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง มีความ
เลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้"

เรื่องอาหาร

[90] ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า "ดีจริง ขอรับ"
แล้วได้ถามปัญหากับท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า "อธิบายแม้อย่างอื่นเป็นเหตุชี้บอก
ว่า พระอริยสาวกชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง มีความเลื่อมใสอันแน่วแน่
ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ จะพึงมีอยู่หรือ"
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า "พึงมีอยู่ เมื่อใด พระอริยสาวกรู้ชัดอาหาร
เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งอาหาร1 และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาหาร
เมื่อนั้น แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระอริยสาวกก็ชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง
มีความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
อาหาร เป็นอย่างไร เหตุเกิดแห่งอาหาร เป็นอย่างไร ความดับแห่งอาหาร
เป็นอย่างไร ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาหาร เป็นอย่างไร
คือ อาหาร 4 ชนิดนี้ ย่อมมีเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว
หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
อาหาร 4 ชนิด อะไรบ้าง คือ
1. กวฬิงการาหาร(อาหารคือคำข้าว) หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง
2. ผัสสาหาร(อาหารคือการสัมผัส)
3. มโนสัญเจตนาหาร(อาหารคือความจงใจ)
4. วิญญาณาหาร(อาหารคือวิญญาณ)

เชิงอรรถ :
1 ความดับแห่งอาหาร จะปรากฏได้ก็ต่อเมื่อดับตัณหาที่เป็นปัจจัยแห่งอาหารทั้งที่เป็นอุปาทินนกะและ
อนุปาทินนกะได้ กล่าวคือ เมื่อเหตุดับไปโดยประการทั้งปวง แม้ผลก็ย่อมดับไปโดยประการทั้งปวง (ม.มู.อ.
1/90/228, ม.มู.ฏีกา 1/90/393)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :84 }