เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ 1. มูลปริยายวรรค] 8. สัลเลขสูตร

เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้
พูดเพ้อเจ้อ
ความไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับ
บุคคลผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
ความไม่พยาบาท เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีจิตพยาบาท
สัมมาทิฏฐิ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความเห็นผิด
สัมมาสังกัปปะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความดำริผิด
สัมมาวาจา เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้เจรจาผิด
สัมมากัมมันตะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีการกระทำผิด
สัมมาอาชีวะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพผิด
สัมมาวายามะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความพยายามผิด
สัมมาสติ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความระลึกผิด
สัมมาสมาธิ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีการตั้งจิตมั่นผิด
สัมมาญาณะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความรู้ผิด
สัมมาวิมุตติ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความหลุดพ้นผิด
ความเป็นผู้ปราศจากความหดหู่และเซื่องซึม เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับ
บุคคลผู้ถูกความหดหู่และเซื่องซึมครอบงำ
ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มี
ความสงสัย
ความไม่โกรธ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มักโกรธ
ความไม่ผูกโกรธ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ผูกโกรธ
ความไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ลบหลู่
คุณท่าน
ความไม่ตีเสมอ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ตีเสมอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :79 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 8. สัลเลขสูตร

ความไม่ริษยา เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีความริษยา
ความไม่ตระหนี่ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ตระหนี่
ความไม่โอ้อวด เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้โอ้อวด
ความไม่มีมารยา เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีมารยา
ความไม่ดื้อรั้น เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ดื้อรั้น
ความไม่ถือตัวจัด เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ถือตัวจัด
ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ว่ายาก
ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีมิตรชั่ว
ความไม่ประมาท เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ประมาท
สัทธา เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
หิริ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ไม่มีความละอายบาป
โอตตัปปะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ไม่เกรงกลัวบาป
พาหุสัจจะ เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ได้ยินได้ฟังน้อย
การปรารภความเพียร เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้เกียจคร้าน
ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีสติหลงลืม
ความสมบูรณ์ด้วยปัญญา เป็นทางเพื่อความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้มีปัญญา
ทราม
ความเป็นผู้ไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ง่าย เป็นทางเพื่อ
ความดับสนิทสำหรับบุคคลผู้ยึดติด ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ยาก
[88] จุนทะ เราได้แสดงเหตุแห่งธรรมเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส เหตุแห่ง
จิตตุปบาท เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เหตุแห่งการไปสู่ความเจริญ (และ)เหตุแห่ง
ความดับสนิทไว้แล้วด้วยประการอย่างนี้ เราผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล เอื้อเอ็นดู
อนุเคราะห์สาวกทั้งหลาย ได้ทำกิจที่ควรทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :80 }