เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 8. สัลเลขสูตร

ความไม่พยาบาท เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีจิตพยาบาท
สัมมาทิฏฐิ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความเห็นผิด1
สัมมาสังกัปปะ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความดำริผิด
สัมมาวาจา เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้เจรจาผิด
สัมมากัมมันตะ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีการกระทำผิด
สัมมาอาชีวะ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพผิด
สัมมาวายามะ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความพยายามผิด
สัมมาสติ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความระลึกผิด
สัมมาสมาธิ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีการตั้งจิตมั่นผิด
สัมมาญาณะ(ความรู้ชอบ) เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความรู้ผิด
สัมมาวิมุตติ(ความหลุดพ้นชอบ) เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความ
หลุดพ้นผิด
ความเป็นผู้ปราศจากความหดหู่และเซื่องซึม เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคล
ผู้ถูกความหดหู่และเซื่องซึมครอบงำ
ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความสงสัย
ความไม่โกรธ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มักโกรธ
ความไม่ผูกโกรธ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ผูกโกรธ
ความไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ลบหลู่คุณท่าน
ความไม่ตีเสมอ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ตีเสมอ
ความไม่ริษยา เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีความริษยา
ความไม่ตระหนี่ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ตระหนี่
ความไม่โอ้อวด เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้โอ้อวด

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/175/318

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :76 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 8. สัลเลขสูตร

ความไม่มีมารยา เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีมารยา
ความไม่ดื้อรั้น เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ดื้อรั้น
ความไม่ถือตัวจัด เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ถือตัวจัด
ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ว่ายาก
ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีมิตรชั่ว
ความไม่ประมาท เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ประมาท
สัทธา (ศรัทธา) เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
หิริ(ความละอายบาป) เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ไม่มีความละอายบาป
โอตตัปปะ(ความเกรงกลัวบาป) เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ไม่เกรง
กลัวบาป
พาหุสัจจะ(ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก) เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคล
ผู้ได้ยินได้ฟังน้อย
การปรารภความเพียร เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้เกียจคร้าน
ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีสติหลงลืม
ความสมบูรณ์ด้วยปัญญา เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทราม
ความเป็นผู้ไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ง่าย เป็นทาง
หลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ยึดติด ถือมั่นทิฏฐิของตน และสลัดทิ้งได้ยาก
[86] จุนทะ อกุศลธรรมทั้งหมดเป็นธรรมนำบุคคลไปสู่ความเสื่อม (แต่)
กุศลธรรมทั้งหมดเป็นธรรมนำบุคคลไปสู่ความเจริญ แม้ฉันใด ความไม่เบียดเบียน
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นทางเพื่อความเจริญสำหรับบุคคลผู้เบียดเบียน
เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นทางเพื่อความเจริญสำหรับบุคคลผู้ฆ่าสัตว์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :77 }