เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 8. สัลเลขสูตร

... 'ชนเหล่าอื่นจักมีจิตฟุ้งซ่าน ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีจิตไม่ฟุ้งซ่าน'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีความสงสัย ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักข้ามพ้นความสงสัย'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความโกรธ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ผูกโกรธ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน'
... 'ชนเหล่าอื่นจักตีเสมอ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ตีเสมอ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความริษยา'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความตระหนี่'
... 'ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่โอ้อวด'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีมารยา ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีมารยา'
... 'ชนเหล่าอื่นจักดื้อรั้น ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดื้อรั้น'
... 'ชนเหล่าอื่นจักถือตัวจัด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ถือตัวจัด'
... 'ชนเหล่าอื่นจักว่ายาก ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักว่าง่าย'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีมิตรดี'
... 'ชนเหล่าอื่นจักประมาท ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ประมาท'
... 'ชนเหล่าอื่นจักไม่มีศรัทธา ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีศรัทธา'
... 'ชนเหล่าอื่นจักไม่มีความละอายบาป ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความ
ละอายบาป'
... 'ชนเหล่าอื่นจักไม่มีความเกรงกลัวบาป ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความ
เกรงกลัวบาป'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีการได้ยินได้ฟังน้อย ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีการได้ยิน
ได้ฟังมาก'
... 'ชนเหล่าอื่นจักเกียจคร้าน ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักปรารภความเพียร'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีสติหลงลืม ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีสติตั้งมั่น'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีปัญญาทราม ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักสมบูรณ์ด้วยปัญญา'

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :74 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 8. สัลเลขสูตร

เธอทั้งหลาย ควรทำความขัดเกลากิเลสด้วยความคิดว่า 'ชนเหล่าอื่นจักยึดติด
ถือมั่นทิฏฐิของตน สลัดทิ้งได้ยาก ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิ
ของตน สลัดทิ้งได้ง่าย'
[84] จุนทะ เรากล่าวว่า 'แม้จิตตุปบาทก็มีอุปการะมากในกุศลธรรม
ทั้งหลาย ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการกระทำด้วยกายและพูดด้วยวาจา' เพราะฉะนั้น
ในเรื่องนี้ เธอทั้งหลายควรมีความคิดว่า 'ชนเหล่าอื่นจักเบียดเบียนกัน ในเรื่องนี้
เราทั้งหลายจักไม่เบียดเบียนกัน'
... 'ชนเหล่าอื่นจักฆ่าสัตว์ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเว้นจากการฆ่าสัตว์' ฯลฯ
เธอทั้งหลายควรมีความคิดว่า 'ชนเหล่าอื่นจักยึดติด ถือมั่นทิฏฐิของตน สลัดทิ้ง
ได้ยาก ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นทิฏฐิของตน สลัดทิ้งได้ง่าย'

ทางหลีกเลี่ยงความชั่ว

[85] จุนทะ ทางที่ขรุขระจะพึงมีทางที่ราบเรียบอื่นเพื่อใช้เป็นทางหลีกเลี่ยง
อนึ่ง ท่าน้ำที่ขรุขระจะพึงมีท่าน้ำที่ราบเรียบอื่นเพื่อใช้เป็นทางหลีกเลี่ยง แม้ฉันใด
ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้เบียดเบียน
เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ฆ่าสัตว์
เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ลักทรัพย์
เจตนางดเว้นจากการไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับ
บุคคลผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์
เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดเท็จ
เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดส่อเสียด
เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดคำหยาบ
เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ
ความไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น เป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้
เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :75 }