เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 8. สัลเลขสูตร

... 'ชนเหล่าอื่นจักพูดเท็จ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเว้นจากการพูดเท็จ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักพูดส่อเสียด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเว้นจากการพูด
ส่อเสียด'
... 'ชนเหล่าอื่นจักพูดคำหยาบ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเว้นจากการพูด
คำหยาบ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักพูดเพ้อเจ้อ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเว้นจากการพูด
เพ้อเจ้อ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจัก
ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีจิตพยาบาท'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความเห็นชอบ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความดำริชอบ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักเจรจาผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักเจรจาชอบ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีการกระทำผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีการกระทำชอบ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีการเลี้ยงชีพผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีการเลี้ยง
ชีพชอบ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีความพยายามผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความ
พยายามชอบ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีความระลึกผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความ
ระลึกชอบ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีการตั้งจิตมั่นผิด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีการตั้งจิต
มั่นชอบ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีมิจฉาญาณะ(ความรู้ผิด) ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความ
รู้ชอบ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีมิจฉาวิมุตติ(ความหลุดพ้นผิด) ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมี
ความหลุดพ้นชอบ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักถูกความหดหู่และเซื่องซึมครอบงำ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลาย
จักปราศจากความหดหู่และเซื่องซึม'

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :73 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 8. สัลเลขสูตร

... 'ชนเหล่าอื่นจักมีจิตฟุ้งซ่าน ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีจิตไม่ฟุ้งซ่าน'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีความสงสัย ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักข้ามพ้นความสงสัย'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความโกรธ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ผูกโกรธ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน'
... 'ชนเหล่าอื่นจักตีเสมอ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ตีเสมอ'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความริษยา'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่ ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความตระหนี่'
... 'ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่โอ้อวด'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีมารยา ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีมารยา'
... 'ชนเหล่าอื่นจักดื้อรั้น ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดื้อรั้น'
... 'ชนเหล่าอื่นจักถือตัวจัด ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ถือตัวจัด'
... 'ชนเหล่าอื่นจักว่ายาก ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักว่าง่าย'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีมิตรดี'
... 'ชนเหล่าอื่นจักประมาท ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักไม่ประมาท'
... 'ชนเหล่าอื่นจักไม่มีศรัทธา ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีศรัทธา'
... 'ชนเหล่าอื่นจักไม่มีความละอายบาป ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความ
ละอายบาป'
... 'ชนเหล่าอื่นจักไม่มีความเกรงกลัวบาป ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีความ
เกรงกลัวบาป'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีการได้ยินได้ฟังน้อย ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีการได้ยิน
ได้ฟังมาก'
... 'ชนเหล่าอื่นจักเกียจคร้าน ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักปรารภความเพียร'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีสติหลงลืม ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักมีสติตั้งมั่น'
... 'ชนเหล่าอื่นจักมีปัญญาทราม ในเรื่องนี้ เราทั้งหลายจักสมบูรณ์ด้วยปัญญา'

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :74 }