เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 1. มูลปริยายสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้'
[5] หมายรู้รูปที่ตนเห็น1โดยความเป็นรูปที่ตนเห็น ครั้นหมายรู้รูปที่ตนเห็น1
โดยความเป็นรูปที่ตนเห็นแล้ว กำหนดหมายซึ่งรูปที่ตนเห็น กำหนดหมายในรูป
ที่ตนเห็น กำหนดหมายนอกรูปที่ตนเห็น กำหนดหมายรูปที่ตนเห็นว่าเป็นของเรา
ยินดีรูปที่ตนเห็น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้'
หมายรู้เสียงที่ตนได้ยิน2โดยความเป็นเสียงที่ตนได้ยิน ครั้นหมายรู้เสียงที่ตน
ได้ยินโดยความเป็นเสียงที่ตนได้ยินแล้ว กำหนดหมายซึ่งเสียงที่ตนได้ยิน กำหนด
หมายในเสียงที่ตนได้ยิน กำหนดหมายนอกเสียงที่ตนได้ยิน กำหนดหมายเสียงที่
ตนได้ยินว่าเป็นของเรา ยินดีเสียงที่ตนได้ยิน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้'
หมายรู้อารมณ์ที่ตนทราบ3โดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ ครั้นหมายรู้
อารมณ์ที่ตนทราบโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว กำหนดหมายซึ่งอารมณ์
ที่ตนทราบ กำหนดหมายในอารมณ์ที่ตนทราบ กำหนดหมายนอกอารมณ์ที่ตน
ทราบ กำหนดหมายอารมณ์ที่ตนทราบว่าเป็นของเรา ยินดีอารมณ์ที่ตนทราบ

เชิงอรรถ :
1 รูปที่ตนเห็น หมายถึงสิ่งที่ตนเห็นทางมังสจักขุ หรือทิพพจักขุ คำนี้เป็นชื่อแห่งรูปายตนะ (ม.มู.อ. 1/5/40)
2 เสียงที่ตนได้ยิน หมายถึงสิ่งที่ตนฟังทางมังสโสตะ หรือทิพพโสตะ คำนี้เป็นชื่อแห่งสัททายตนะ
(ม.มู.อ. 1/5/41)
3 อารมณ์ที่ตนทราบ หมายถึงอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว และรู้แล้วจึงรับเอา คือ เข้าไปกระทบรับเอา มีคำ
อธิบายว่า ที่ตนรู้แจ้งแล้วเพราะการกระทบกันและกันระหว่างอินทรีย์กับอารมณ์ทั้งหลาย คำนี้เป็นชื่อแห่ง
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ (ม.มู.อ. 1/5/41)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :7 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 1. มูลปริยายสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้'
หมายรู้อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง1โดยความเป็นอารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ครั้นหมายรู้
อารมณ์ที่ตนรู้แจ้งโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนรู้แจ้งแล้ว กำหนดหมายซึ่งอารมณ์ที่
ตนรู้แจ้ง กำหนดหมายในอารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง กำหนดหมายนอกอารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง
กำหนดหมายอารมณ์ที่ตนรู้แจ้งว่าเป็นของเรา ยินดีอารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้'
[6] หมายรู้ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกันโดยความเป็นอัน
เดียวกัน ครั้นหมายรู้ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกันโดยความเป็นอัน
เดียวกันแล้ว กำหนดหมายซึ่งความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน
กำหนดหมายในความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน กำหนดหมายนอก
ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน กำหนดหมายความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติ
เป็นอันเดียวกันว่าเป็นของเรา ยินดีความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้'
หมายรู้ความที่กามจิตต่างกันโดยความเป็นของต่างกัน ครั้นหมายรู้ความที่
กามจิตต่างกันโดยความเป็นของต่างกันแล้ว กำหนดหมายซึ่งความที่กามจิตต่างกัน
กำหนดหมายในความที่กามจิตต่างกัน กำหนดหมายนอกความที่กามจิตต่างกัน
กำหนดหมายความที่กามจิตต่างกันว่าเป็นของเรา ยินดีความที่กามจิตต่างกัน

เชิงอรรถ :
1 อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง หมายถึงอารมณ์ที่ตนรู้แจ้งทางใจ คำนี้เป็นชื่อแห่งอายตนะที่เหลือ อีกอย่างหนึ่ง
เป็นชื่อแห่งธรรมารมณ์ แต่ในที่นี้ได้เฉพาะอารมณ์ที่นับเนื่องในกายของตน (ม.มู.อ. 1/5/41)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :8 }