เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 7. วัตถูปมสูตร

[76] ภิกษุนั้นมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ แม้ว่าเธอฉัน
อาหารบิณฑบาตข้าวสาลีที่เลือกของสกปรกออกแล้ว มีแกงมีกับข้าวหลายอย่าง
การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น ไม่เป็นอันตรายแก่มรรคและผลเลย ผ้าที่สกปรก
เปรอะเปื้อน จะเป็นผ้าที่สะอาด หมดจดได้ เพราะอาศัยน้ำใสสะอาด หรือทองคำ
จะเป็นทองคำบริสุทธิ์ผุดผ่องได้เพราะอาศัยเบ้าหลอม แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ แม้ว่าเธอฉันอาหารบิณฑบาตข้าว
สาลีที่เลือกของสกปรกออกแล้ว มีแกงมีกับข้าวหลายอย่าง การฉันบิณฑบาตของ
ภิกษุนั้น ไม่เป็นอันตรายแก่มรรคและผลเลย
[77] ภิกษุนั้นมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ... ทิศที่ 2 ... ทิศที่ 3 ...
ทิศที่ 4 ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าใน
ที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1
... ทิศที่ 2 ... ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4 ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไป
ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี
ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
[78] ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า 'สิ่งนี้มีอยู่ สิ่งที่เลวมีอยู่ สิ่งที่ประณีตมีอยู่ ธรรม
เครื่องสลัดออกจากกิเลส1 ที่ยิ่งกว่าสัญญานี้2ก็มีอยู่' เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิต
ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า
'หลุดพ้นแล้ว' รู้ชัดว่า 'ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว3 ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว4 ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป5' ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้อาบ
สะอาดแล้วด้วยการอาบสะอาดในภายใน"

เชิงอรรถ :
1 ธรรมเครื่องสลัดออกจากกิเลส ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ม.มู.อ. 1/78/189)
2 สัญญา ในที่นี้หมายถึงพรหมวิหารสัญญา (ม.มู.อ. 1/78/189)
3-5 ดูเชิงอรรถที่ 1 - 3 ข้อ 54 (ภยเภรวสูตร) หน้า 43 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :67 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 7. วัตถูปมสูตร

การอาบน้ำในพระศาสนา

[79] ในสมัยนั้น พราหมณ์ชื่อสุนทริกภารทวาชะนั่งอยู่ไม่ไกลจากพระผู้มี-
พระภาค ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า "ท่านพระโคดมเสด็จไปยังแม่น้ำพาหุกาเพื่อ
สรงน้ำหรือ"
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า "พราหมณ์ แม่น้ำพาหุกาจะมีประโยชน์อะไร
แม่น้ำพาหุกาจักทำอะไรได้"
สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า "ท่านพระโคดม คนจำนวนมากถือ
กันว่า แม่น้ำพาหุกาให้ความบริสุทธิ์ได้ คนจำนวนมากถือกันว่า แม่น้ำพาหุกา
เป็นบุญสถาน อนึ่ง คนจำนวนมากลอยบาปกรรมที่ตนทำแล้วในแม่น้ำพาหุกา"
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับสุนทริกภารทวาชพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า
"คนพาลมีกรรมชั่ว แม้จะไปยังแม่น้ำพาหุกา
ท่าน้ำอธิกักกะ ท่าน้ำคยา แม่น้ำสุนทริกา แม่น้ำสรัสสดี
ท่าน้ำปยาคะ และแม่น้ำพาหุมดี เป็นประจำ ก็ยังบริสุทธิ์ไม่ได้
แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำปยาคะ แม่น้ำพาหุกา จักทำอะไรได้
จะพึงชำระคนผู้มีเวร ผู้ทำกรรมหยาบช้า ผู้มีกรรมชั่วนั้น
ให้บริสุทธิ์ไม่ได้เลย
ผัคคุณฤกษ์1 เป็นฤกษ์ดีทุกเมื่อสำหรับผู้บริสุทธิ์
อุโบสถเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ทุกเมื่อสำหรับผู้บริสุทธิ์
วัตรปฏิบัติสมบูรณ์ทุกเมื่อสำหรับผู้บริสุทธิ์ มีกรรมสะอาด

เชิงอรรถ :
1 ผัคคุณฤกษ์ หมายถึงงานนักขัตฤกษ์ประจำเดือน 4 ที่พราหมณ์ถือว่าผู้ที่ชำระหรืออาบน้ำวันข้างขึ้น
เดือน 4 ได้ชื่อว่าชำระบาปที่ทำมาแล้วตลอดปีได้ (ม.มู.อ. 1/79/191)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :68 }