เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 7. วัตถูปมสูตร

อุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละอติมานะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'มทะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละมทะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
ภิกษุนั้นรู้ชัดดังนี้ว่า 'ปมาทะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละปมาทะอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
[73] ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุรู้ชัดดังนี้ว่า
'อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'พยาบาท เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละพยาบาทอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'โกธะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละโกธะอันเป็นอุปกิเลส
แห่งจิตได้ ... 'อุปนาหะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละอุปนาหะอันเป็นอุปกิเลส
แห่งจิตได้ ... 'มักขะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละมักขะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
... 'ปฬาสะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละปฬาสะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ...
'อิสสา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละอิสสาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'มัจฉริยะ
เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละมัจฉริยะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'มายา เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละมายาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'สาเถยยะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละสาเถยยะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'ถัมภะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละถัมภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'สารัมภะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละสารัมภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'มานะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละมานะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'อติมานะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละอติมานะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... 'มทะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละมทะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
ภิกษุผู้รู้ชัดดังนี้ว่า 'ปมาทะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต' แล้วจึงละปมาทะอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
[74] ในกาลนั้น ภิกษุนั้นจะมีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระพุทธเจ้าว่า 'แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :65 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 7. วัตถูปมสูตร

โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่
ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค'1 จะมีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระธรรมว่า 'พระธรรมเป็น
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน' และ
จะมีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระสงฆ์ว่า 'พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้
ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล 4 คู่ คือ
8 บุคคล2 พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก'
[75] เพราะเหตุที่ภิกษุนั้นสละ คาย ปล่อย ละ สลัดทิ้งส่วนแห่งกิเลสได้แล้ว
เธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ ความรู้แจ้งธรรม และความปราโมทย์อันประกอบด้วย
ธรรมว่า 'เรามีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า' เมื่อเธอมีปราโมทย์แล้ว ปีติ
ย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น ...'เรามีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระธรรม' เธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ
ความรู้แจ้งธรรม และความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรมว่า 'เรามีความเลื่อมใส
แน่วแน่ในพระสงฆ์' เมื่อเธอมีปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
เธอมีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอรู้ว่า 'เพราะเราสละ
คาย ปล่อย ละ สลัดทิ้งส่วนแห่งกิเลสได้แล้ว' จึงได้ความรู้แจ้งอรรถ ความ
รู้แจ้งธรรม และความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อเธอมีปราโมทย์แล้ว ปีติ
ย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น

เชิงอรรถ :
1 วิ.อ. 1/1/103-118, องฺ.ทุก.(แปล) 20/64/247
2 8 บุคคล ได้แก่ (1) บุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน (2) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
(3) บุคคลผู้เป็นพระสกทาคามี (4) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
(5) บุคคลผู้เป็นพระอนาคามี (6) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
(7) บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ (8) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
(อภิ.ปุ. (แปล) 36/207/229)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :66 }