เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 6. อากังเขยยสูตร

13. หากภิกษุพึงหวังว่า 'เราพึงได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ (1) เสียงทิพย์
(2) เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์' ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูนเรือนว่าง
14. หากภิกษุพึงหวังว่า 'เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นและบุคคลอื่น
คือ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า 'จิตมีราคะ' หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัด
ว่า 'จิตปราศจากราคะ' จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่า 'จิตมีโทสะ' หรือจิต
ปราศจากโทสะก็รู้ชัดว่า 'จิตปราศจากโทสะ' จิตมีโมหะก็รู้ชัดว่า
'จิตมีโมหะ' หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ชัดว่า 'จิตปราศจากโมหะ'
จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่า 'จิตหดหู่' หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่า 'จิตฟุ้งซ่าน'
จิตเป็นมหัคคตะ1 ก็รู้ชัดว่า 'จิตเป็นมหัคคตะ' หรือจิตไม่เป็น
มหัคคตะก็รู้ชัดว่า 'จิตไม่เป็นมหัคคตะ' จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัด
ว่า 'จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า' หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่า 'จิตไม่มี
จิตอื่นยิ่งกว่า' จิตเป็นสมาธิก็รู้ชัดว่า 'จิตเป็นสมาธิ' หรือจิตไม่
เป็นสมาธิก็รู้ชัดว่า 'จิตไม่เป็นสมาธิ' จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่า 'จิต
หลุดพ้น' หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่า 'จิตไม่หลุดพ้น' ภิกษุนั้น
พึงทำศีลให้บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูนเรือนว่าง
15. หากภิกษุพึงหวังว่า 'เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1
ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง 3 ชาติบ้าง 4 ชาติบ้าง 5 ชาติบ้าง 10
ชาติบ้าง 20 ชาติบ้าง 30 ชาติบ้าง 40 ชาติบ้าง 50 ชาติบ้าง
100 ชาติบ้าง 1,000 ชาติบ้าง 100,000 ชาติบ้าง ตลอด
สังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป2เป็นอันมากบ้างว่า 'ในภพโน้นเรา
มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และ
มีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น
เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์
และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้' เราระลึก

เชิงอรรถ :
1 มหัคคตะ หมายถึงอารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ชั้นรูปาวจรและชั้นอรูปาวจร เพราะมีผลที่สามารถข่มกิเลสได้
และหมายถึงฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาอันยิ่งใหญ่ (อภิ.สงฺ.อ. 12/92)
2 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 52 (ภยเภรวสูตร) หน้า 42 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :60 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 6. อากังเขยยสูตร

ชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้'
ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูนเรือนว่าง
16. หากภิกษุพึงหวังว่า 'เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้ง
ชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
'หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้าย
พระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด
พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก1
แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าว
ร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความ
เห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล' ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้
บริบูรณ์ หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน ไม่เหินห่าง
จากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง
[69] ภิกษุทั้งหลาย
17. หากภิกษุพึงหวังว่า 'เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ2 ปัญญาวิมุตติ3
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึง

เชิงอรรถ :
1 ชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากความงอกงาม คือความเจริญหรือความสุข ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นคติ
คือเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นสถานที่ตกไปของหมู่สัตว์ที่ทำความชั่ว ชื่อว่า นรก เพราะ
ปราศจากความยินดี เหตุเป็นที่ไม่มีความสบายใจ (ม.มู.อ. 1/153/358)
2 เจโตวิมุตติ หมายถึงสมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล ที่ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะพ้นจากราคะ(ที่เป็น
ปฏิปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้ ดู ม.มู.ฏีกา 1/69/334) ในที่นี้
หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีสมถกัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน (ม.มู.อ. 1/69/177, เทียบ องฺ.ทุก.อ. 2/88/62)
3 ปัญญาวิมุตติ หมายถึงปัญญาที่สหรคตด้วยอรหัตตผลนั้น ที่ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจาก
อวิชชา(ที่เป็นปฏิปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้ ดู ม.มู.ฏีกา 1/69/
334) ในที่นี้หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน (ม.มู.อ. 1/69/177, เทียบ
องฺ.ทุก.อ. 2/88/62)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :61 }