เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 6. อากังเขยยสูตร

[66] ภิกษุทั้งหลาย
5. หากภิกษุพึงหวังว่า 'เราพึงข่มความไม่ยินดี(ในกุศลธรรม) และ
ความยินดี(ในกามคุณ 5) อนึ่ง ความไม่ยินดี ไม่พึงครอบงำเรา
เราพึงครอบงำย่ำยีความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นอยู่' ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้
บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูนเรือนว่าง
6. หากภิกษุพึงหวังว่า 'เราพึงเอาชนะความขลาดกลัว อนึ่ง ความ
ขลาดกลัวไม่พึงครอบงำเรา เราพึงเอาชนะ ครอบงำ ย่ำยีความ
ขลาดกลัวที่เกิดขึ้นอยู่' ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ ฯลฯ
เพิ่มพูนเรือนว่าง
7. หากภิกษุพึงหวังว่า 'เราพึงได้ฌาน 4 ซึ่งเป็นอภิเจตสิก1 เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก' ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูน
เรือนว่าง
8. หากภิกษุพึงหวังว่า 'เราพึงบรรลุวิโมกข์ที่สงบ เป็นอรูปฌาน
เพราะก้าวล่วงรูปาวจรฌานด้วยนามกาย' ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้
บริบูรณ์ ฯลฯ เพิ่มพูนเรือนว่าง
[67] ภิกษุทั้งหลาย
9. หากภิกษุพึงหวังว่า 'เราพึงเป็นพระโสดาบัน2 เพราะสังโยชน์3 3

เชิงอรรถ :
1 อภิเจตสิก หมายถึงอุปจารสมาธิ (ม.มู.อ. 1/66/173)
2 โสดาบัน หมายถึงผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 เพราะคำว่า โสตะ เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ 8
(อภิ.ปญฺจ.อ. 31/53 ดูประกอบใน สํ.ม. (แปล) 19/1001/495)
3 สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี 10 ประการ คือ (1) สักกายทิฏฐิ
(2) วิจิกิจฉา (3) สีลัพพตปรามาส (4) กามฉันทะหรือกามราคะ (5) พยาบาทหรือปฏิฆะ (6) รูปราคะ
(7) อรูปราคะ (8) มานะ (9) อุทธัจจะ (10) อวิชชา
5 ข้อต้นชื่อโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ข้อหลังชื่ออุทธัมภาคิยสังโยชน์ พระโสดาบันละสังโยชน์ 3
ข้อต้นได้ พระสกทาคามีทำสังโยชน์ที่ 4 และที่ 5 ให้เบาบาง พระอนาคามีละสังโยชน์ 5 ข้อต้นได้หมด
พระอรหันต์ละสังโยชน์ได้หมดทั้ง 10 ข้อ (องฺ.ทสก.(แปล) 24/13/21)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :58 }