เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 6. อากังเขยยสูตร

อย่างต่อเนื่อง ใส่ใจในสมณธรรม มีความเคารพอย่างหนักแน่นในสิกขา ไม่เป็น
ผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ไม่ทอดธุระในปวิเวก
ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิต
แน่วแน่ ไม่เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ของท่านพระสารีบุตรแล้ว
เหมือนหนึ่งว่าจะดื่มจะกลืนไว้ด้วยวาจาและใจว่า 'ดีจริงหนอ ท่านผู้เจริญ ท่าน
พระสารีบุตรผู้เป็นเพื่อนพรหมจารีทำให้เราทั้งหลายออกจากอกุศลธรรมแล้วให้
ดำรงอยู่ในกุศลธรรม"
พระอัครสาวกทั้ง 2 นั้นต่างชื่นชมภาษิตของกันและกัน ดังนี้แล

อนังคณสูตรที่ 5 จบ

6. อากังเขยยสูตร1
ว่าด้วยความหวัง 17 ประการ

[64] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์อยู่ จง
สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร2อยู่ จงเป็น
ผู้เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/71/156
2 คำว่า อาจาระ หมายถึงความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา และทางใจ ความสำรวมระวังในศีลทั้งปวง
และความที่ภิกษุไม่เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาอาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ คำว่า โคจร หมายถึงการไม่เที่ยว
ไปยังสถานที่ไม่ควรเที่ยวไป เช่น ที่อยู่ของหญิงแพศยา การไม่คลุกคลีกับบุคคลที่ไม่สมควรคลุกคลีด้วย
เช่น พระราชา การไม่คบหากับตระกูลที่ไม่สมควรคบหา เช่น ตระกูลที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส
ภิกษุผู้ประกอบด้วยอาจาระและโคจรดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร (อภิ.วิ.
(แปล) 35/513-514/388-389)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :56 }