เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 5. อนังคณสูตร

หลอกลวง ฟุ้งซ่าน ถือตน กลับกลอก ปากกล้า ไม่สำรวมวาจา ไม่คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย1 ไม่รู้ประมาณในการบริโภค ไม่ประกอบความเพียรในธรรม
เป็นเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง ไม่ใส่ใจสมณธรรม ไม่มีความเคารพอย่างหนักแน่นใน
สิกขา เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก
เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อน ขาดสติสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิต
หมุนไปผิด เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา ท่านสารีบุตรถาก(กิเลส) ด้วยธรรมบรรยาย
นี้เหมือนรู้ใจของบุคคลเหล่านั้น
อนึ่ง กุลบุตรเหล่าใดมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มี
มารยา ไม่หลอกลวง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า สำรวมวาจา
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรใน
ธรรมเป็นเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง ใส่ใจในสมณธรรม มีความเคารพอย่างหนักแน่น
ในสิกขา ไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ไม่
ทอดธุระในปวิเวก ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ
มีจิตมั่นคง มีจิตแน่วแน่ ไม่เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา กุลบุตรเหล่านั้นฟังธรรม-
บรรยายนี้ของท่านพระสารีบุตร เหมือนหนึ่งว่าจะดื่มจะกลืนไว้ด้วยวาจาและใจว่า
'ดีจริงหนอ ท่านผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรผู้เป็นเพื่อนพรหมจารี ทำให้เราทั้งหลาย
ออกจากอกุศลธรรมแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลธรรม สตรีสาวหรือบุรุษหนุ่มชอบแต่งตัว
ชำระสระเกล้าแล้วได้ดอกอุบล ดอกมะลิ หรือดอกลำดวน ประคองไว้ด้วยมือ
ทั้ง 2 แล้วยกขึ้นวางไว้เหนือเศียรเกล้า แม้ฉันใด กุลบุตรเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่หลอกลวง ไม่
ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า สำรวมวาจา คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น

เชิงอรรถ :
1 ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย หมายถึงไม่สำรวมกรรมทวาร (คือ กาย วาจา ใจ) ในอินทรีย์ 6
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (ม.มู.อ. 1/63/164) และดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/167/281

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :55 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 6. อากังเขยยสูตร

อย่างต่อเนื่อง ใส่ใจในสมณธรรม มีความเคารพอย่างหนักแน่นในสิกขา ไม่เป็น
ผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ไม่ทอดธุระในปวิเวก
ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิต
แน่วแน่ ไม่เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ของท่านพระสารีบุตรแล้ว
เหมือนหนึ่งว่าจะดื่มจะกลืนไว้ด้วยวาจาและใจว่า 'ดีจริงหนอ ท่านผู้เจริญ ท่าน
พระสารีบุตรผู้เป็นเพื่อนพรหมจารีทำให้เราทั้งหลายออกจากอกุศลธรรมแล้วให้
ดำรงอยู่ในกุศลธรรม"
พระอัครสาวกทั้ง 2 นั้นต่างชื่นชมภาษิตของกันและกัน ดังนี้แล

อนังคณสูตรที่ 5 จบ

6. อากังเขยยสูตร1
ว่าด้วยความหวัง 17 ประการ

[64] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์อยู่ จง
สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร2อยู่ จงเป็น
ผู้เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/71/156
2 คำว่า อาจาระ หมายถึงความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา และทางใจ ความสำรวมระวังในศีลทั้งปวง
และความที่ภิกษุไม่เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาอาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ คำว่า โคจร หมายถึงการไม่เที่ยว
ไปยังสถานที่ไม่ควรเที่ยวไป เช่น ที่อยู่ของหญิงแพศยา การไม่คลุกคลีกับบุคคลที่ไม่สมควรคลุกคลีด้วย
เช่น พระราชา การไม่คบหากับตระกูลที่ไม่สมควรคบหา เช่น ตระกูลที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส
ภิกษุผู้ประกอบด้วยอาจาระและโคจรดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร (อภิ.วิ.
(แปล) 35/513-514/388-389)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :56 }