เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 9. พรหมนิมันตนิกสูตร

กว่าท่าน เรารู้จักน้ำ ... เรารู้จักไฟ ... เรารู้จักลม ... เรารู้จักเหล่าสัตว์ ... เรา
รู้จักเทวดา ... เรารู้จักปชาบดี ... เรารู้จักพรหม ... เรารู้จักอาภัสสรพรหม ...
เรารู้จักสุภกิณหพรหม ... เรารู้จักเวหัปผลพรหม ... เรารู้จักอภิภูพรหม ...
เรารู้จักสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นสิ่งทั้งปวง รู้จักนิพพานที่สัตว์เสวยไม่ได้โดย
ความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวงแล้วไม่เป็นสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีในสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มี
จากสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของเรา ไม่ได้กล่าวเฉพาะสิ่งทั้งปวง
พรหม เราเทียบกับท่านไม่ได้ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้
ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้ เราเท่านั้นเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน พกพรหม
กล่าวกับเราว่า 'ท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเพราะท่านรู้นิพพานที่สัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่
สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง ถ้อยคำของท่าน อย่าได้ว่าง อย่าได้เปล่าเสียเลย'
นิพพานที่ผู้บรรลุจะพึงรู้แจ้งได้ เป็นอนิทัสสนะ1 เป็นอนันตะ2(ไม่สิ้นสุด) มี
รัศมีกว่าสิ่งทั้งปวง สัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน โดยความที่น้ำเป็นน้ำ
โดยความที่ไฟเป็นไฟ โดยความที่ลมเป็นลม โดยความที่เหล่าสัตว์เป็นเหล่าสัตว์
โดยความที่เทวดาเป็นเทวดา โดยความที่ปชาบดีเป็นปชาบดี โดยความที่พรหม
เป็นพรหม โดยความที่อาภัสสรพรหมเป็นอาภัสสรพรหม โดยความที่สุภกิณห-
พรหมเป็นสุภกิณหพรหม โดยความที่เวหัปผลพรหมเป็นเวหัปผลพรหม โดย
ความที่อภิภูพรหมเป็นอภิภูพรหม โดยความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง
พกพรหมกล่าวกับเราว่า 'ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านจงดู บัดนี้ เราจะอันตรธาน
ไปจากท่าน' เรากล่าวว่า 'พรหม หากท่านสามารถ บัดนี้ ก็จงอันตรธานไปจาก
เราเถิด' ครั้งนั้น พกพรหมกล่าวว่า 'เราจักอันตรธานไปจากพระสมณโคดม เรา
จักอันตรธานไปจากพระสมณโคดม' แต่ก็ไม่อาจอันตรธานไปจากเราได้เลย

เชิงอรรถ :
1 อนิทัสสนะ หมายถึงสภาวะที่มองไม่เห็นเพราะอยู่เหนือจักขุวิญญาณ (ม.มู.อ. 2/504/321)
2 อนันตะ หมายถึงไม่มีที่สุด เพราะไม่มีการเกิดขึ้นและการดับไป (ม.มู.อ. 2/504/321)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :542 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 9. พรหมนิมันตนิกสูตร

เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกับพกพรหมว่า 'พรหม ท่านจงดู
บัดนี้ เราจะอันตรธานไปจากท่าน' พกพรหมกล่าวว่า 'ท่านผู้นิรทุกข์ หากท่าน
สามารถ บัดนี้ ก็จงอันตรธานไปจากเราเถิด' ลำดับนั้นเราบันดาลอิทธาภิสังขาร1
เช่นนั้น ด้วยคิดว่า 'ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พรหมก็ดี พรหมบริษัทก็ดี พรหม-
ปาริสัชชะก็ดี ย่อมได้ยินเสียงเรา แต่มิได้เห็นตัวเรา' เราอันตรธานไปแล้ว ได้
กล่าวคาถานี้ว่า
'เราเห็นภัยในภพและเห็นภพของสัตว์
ผู้แสวงหาความปราศจากภพแล้ว
ไม่กล่าวยกย่องภพอะไรเลย
ทั้งไม่ยึดมั่นนันทิ2 ด้วย'
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พรหมก็ดี พรหมบริษัทก็ดี พรหมปาริสัชชะก็ดี ได้
เกิดความแปลกประหลาดมหัศจรรย์จิตว่า 'ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก่อนแต่นี้ เราทั้งหลายไม่ได้เห็น
ไม่ได้ยินสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เหมือนพระสมณโคดม
นี้ ผู้ออกผนวชจากศากยตระกูล ถอนภพพร้อมทั้งรากของหมู่สัตว์ผู้รื่นรมย์ในภพ
ยินดีในภพ เพลิดเพลินในภพ'

มารเข้าสิงกายพรหม

[505] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มารใจบาป เข้าสิงกายพรหมปาริสัชชะ
ผู้หนึ่ง แล้วกล่าวกับเราว่า 'ท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าท่านรู้อย่างนี้ ตรัสรู้อย่างนี้ ก็อย่า
แนะนำ อย่าแสดงธรรม อย่าทำความยินดีกับพวกสาวกและพวกบรรพชิตเลย

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 393 (จูฬตัณหาสังขยสูตร) หน้า 424 ในเล่มนี้
2 นันทิ ในที่นี้หมายถึงภวตัณหา (ม.มู.อ. 2/504/322)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :543 }