เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 9. พรหมนิมันตนิกสูตร

สรรเสริญปชาบดี ชมเชยปชาบดี เป็นผู้สรรเสริญพรหม ชมเชยพรหม หลังจาก
ตายแล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้น จะไปเกิดในพวกที่ดี
เพราะเหตุนั้น เราจึงบอกกับท่านว่า 'ท่านผู้นิรทุกข์ เชิญเถิด ท่านจงทำ
ตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น ท่านจงอย่าฝ่าฝืนคำของพรหมเลย ถ้าท่านจัก
ฝ่าฝืนคำของพรหม โทษจักมีแก่ท่าน เปรียบเหมือนบุรุษเอาท่อนไม้ไล่ตีสิริที่มาหา
หรือเปรียบเหมือนบุรุษผู้ตกเหวลึก ชักมือ และเท้าให้ห่างแผ่นดินเสียฉะนั้น ท่าน
ผู้นิรทุกข์ เชิญเถิด ท่านจงทำตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น ท่านจงอย่าฝ่า
ฝืนคำของพรหมเลย ภิกษุ ท่านเห็นพรหมบริษัทประชุมกันแล้วมิใช่หรือ' มารใจ
บาปเปรียบเรากับพรหมบริษัทนี้ ดังนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกับมารผู้ใจบาปนั้นว่า
'มารผู้ใจบาป เรารู้จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่า 'พระสมณะไม่รู้จักเรา' ท่านเป็นมาร
พรหมก็ดี พรหมบริษัทก็ดี พรหมปาริสัชชะก็ดี ทั้งหมดนั้นอยู่ในมือของท่าน
ตกอยู่ในอำนาจของท่าน และท่านก็มีความดำริว่า 'แม้พระสมณะก็ต้องอยู่ในมือ
ของเรา ต้องอยู่ในอำนาจของเรา' แต่ว่า เราไม่ได้อยู่ในมือของท่าน ไม่ได้ตกอยู่
ในอำนาจของท่านเลย'

พกพรหมหายไปจากพระผู้มีพระภาค

[503] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พกพรหมได้กล่าวว่า
'ท่านผู้นิรทุกข์ เรากล่าวสิ่งที่เที่ยงว่า 'เที่ยง' กล่าวสิ่งที่มั่นคงว่า 'มั่นคง' กล่าว
สิ่งที่ยั่งยืนว่า 'ยั่งยืน' กล่าวสิ่งที่แข็งแรงว่า 'แข็งแรง' กล่าวสิ่งที่ไม่มีความเคลื่อน
เป็นธรรมดาว่า 'ไม่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดา' ก็แลสัตว์ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่จุติ ไม่อุบัติในพรหมสถานใด เรากล่าวถึงพรหมสถานนั้นว่า 'พรหมสถานนี้
ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และกล่าวการสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่ง
อื่นซึ่งไม่มีว่า 'การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นไม่มี' สมณพราหมณ์พวกก่อนท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :539 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 9. พรหมนิมันตนิกสูตร

ได้มีแล้วในโลก อายุของท่านทั้งสิ้นมีประมาณเท่าใด กรรมที่ทำด้วยตบะของสมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นก็มีประมาณเท่านั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น จะพึงรู้การสลัด
ออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นซึ่งมีว่า 'การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นมี' หรือจะพึงรู้
การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นซึ่งไม่มีว่า 'การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นไม่มี'
เพราะเหตุนั้นเราจึงกล่าวกับท่านอย่างนี้ว่า 'ท่านจักไม่เห็นการสลัดออกจากทุกข์
อย่างยิ่งอื่นเลย แม้ว่าท่านจักเป็นผู้มีความลำบากและความคับแค้นใจก็ตาม ภิกษุ
ถ้าท่านจักกลืนกินแผ่นดิน ท่านก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนในที่อยู่ของเรา
เราพึงทำได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้ ถ้าท่านกลืนกินน้ำ ... ถ้าท่านกลืนกินไฟ ...
ถ้าท่านกลืนกินลม ... ถ้าท่านกลืนกินเหล่าสัตว์ ... ถ้าท่านกลืนกินเทวดา ... ถ้าท่าน
กลืนกินปชาบดี ... ถ้าท่านกลืนกินพรหม ท่านก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนใน
ที่อยู่ของเรา เราพึงทำได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้'
เรากล่าวว่า 'พรหม แม้เราก็รู้อย่างนี้ว่า 'ถ้าเราจักกลืนกินแผ่นดิน เราก็จัก
ชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้ท่าน นอนในที่อยู่ของท่าน ท่านพึงทำได้ตามประสงค์ ท่านพึง
ห้ามได้ และถ้าเราจักกลืนกินน้ำ ... ถ้าเราจักกลืนกินไฟ ... ถ้าเราจักกลืนกินลม ...
ถ้าเราจักกลืนกินเหล่าสัตว์ ... ถ้าเราจักกลืนกินเทวดา ... ถ้าเราจักกลืนกินปชาบดี ...
ถ้าเราจักกลืนกินพรหม เราก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้ท่าน นอนในที่อยู่ของท่าน
ท่านพึงทำได้ตามประสงค์ ท่านพึงห้ามได้ ใช่แต่เท่านั้น เรารู้คติ และรู้ความ
รุ่งเรืองของท่านว่า 'พกพรหมมีฤทธิ์มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้
พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้' พกพรหมถามเราว่า 'ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านรู้คติและรู้
ความรุ่งเรืองของเราว่า 'พกพรหมมีฤทธิ์มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมาก
อย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้ได้อย่างไร' เรากล่าวว่า
'ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
ย่อมโคจรส่องทิศให้สว่างอยู่เท่าใด
อำนาจของท่านย่อมเป็นไปใน 1,000 จักรวาลเท่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :540 }