เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 9. พรหมนิมันตนิกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกับพกพรหมว่า
'พกพรหมผู้เจริญตกอยู่ในอำนาจอวิชชาแล้วหนอ พกพรหมผู้เจริญตกอยู่ใน
อำนาจอวิชชาแล้วหนอ เพราะว่าพกพรหมกล่าวสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า 'เที่ยง' กล่าวสิ่ง
ที่ไม่ยั่งยืนว่า 'ยั่งยืน' กล่าวสิ่งที่ไม่มั่นคงว่า 'มั่นคง' กล่าวสิ่งที่ไม่แข็งแรงว่า
'แข็งแรง' กล่าวสิ่งที่มีความเคลื่อนไปเป็นธรรมดาว่า 'มีความไม่เคลื่อนไปเป็นธรรมดา'
ก็แลสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ และอุบัติอยู่ในพรหมสถานใด พกพรหมกล่าว
พรหมสถานนั้นว่า 'พรหมสถานนี้ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และ
กล่าวการสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นซึ่งมีอยู่ว่า 'การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่ง
อื่นไม่มี'

มารเข้าสิงกายพรหม

[502] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มารใจบาปเข้าสิงกายพรหมปาริสัชชะผู้หนึ่ง
แล้วกล่าวกับเราว่า 'ภิกษุ ภิกษุ อย่ารุกรานพกพรหมนี้เลย อย่ารุกรานพกพรหม
นี้เลย เพราะว่าพรหมผู้นี้เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ คณะพรหมฝ่าฝืนไม่ได้ โดยที่แท้
เป็นผู้รู้ทั่วไป ยังสรรพสัตว์ให้เป็นไปในอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้างโลก นิรมิตโลก
เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้แต่งสัตว์ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นบิดาของเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้ว
และที่กำลังจะเกิด สมณพราหมณ์พวกก่อนท่าน เป็นผู้ติเตียนดิน เกลียดดิน เป็นผู้
ติเตียนน้ำ เกลียดน้ำ เป็นผู้ติเตียนไฟ เกลียดไฟ เป็นผู้ติเตียนลม เกลียดลม
เป็นผู้ติเตียนสัตว์ เกลียดสัตว์ เป็นผู้ติเตียนเทวดา เกลียดเทวดา เป็นผู้ติเตียน
ปชาบดี เกลียดปชาบดี เป็นผู้ติเตียนพรหม เกลียดพรหมในโลก หลังจากตายแล้ว
สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะไปเกิดในพวกที่เลว
ส่วนสมณพราหมณ์พวกก่อนท่าน เป็นผู้สรรเสริญดิน ชมเชยดิน เป็นผู้
สรรเสริญน้ำ ชมเชยน้ำ เป็นผู้สรรเสริญไฟ ชมเชยไฟ เป็นผู้สรรเสริญลม ชมเชยลม
เป็นผู้สรรเสริญสัตว์ ชมเชยสัตว์ เป็นผู้สรรเสริญเทวดา ชมเชยเทวดา เป็นผู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :538 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 9. พรหมนิมันตนิกสูตร

สรรเสริญปชาบดี ชมเชยปชาบดี เป็นผู้สรรเสริญพรหม ชมเชยพรหม หลังจาก
ตายแล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้น จะไปเกิดในพวกที่ดี
เพราะเหตุนั้น เราจึงบอกกับท่านว่า 'ท่านผู้นิรทุกข์ เชิญเถิด ท่านจงทำ
ตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น ท่านจงอย่าฝ่าฝืนคำของพรหมเลย ถ้าท่านจัก
ฝ่าฝืนคำของพรหม โทษจักมีแก่ท่าน เปรียบเหมือนบุรุษเอาท่อนไม้ไล่ตีสิริที่มาหา
หรือเปรียบเหมือนบุรุษผู้ตกเหวลึก ชักมือ และเท้าให้ห่างแผ่นดินเสียฉะนั้น ท่าน
ผู้นิรทุกข์ เชิญเถิด ท่านจงทำตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น ท่านจงอย่าฝ่า
ฝืนคำของพรหมเลย ภิกษุ ท่านเห็นพรหมบริษัทประชุมกันแล้วมิใช่หรือ' มารใจ
บาปเปรียบเรากับพรหมบริษัทนี้ ดังนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกับมารผู้ใจบาปนั้นว่า
'มารผู้ใจบาป เรารู้จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่า 'พระสมณะไม่รู้จักเรา' ท่านเป็นมาร
พรหมก็ดี พรหมบริษัทก็ดี พรหมปาริสัชชะก็ดี ทั้งหมดนั้นอยู่ในมือของท่าน
ตกอยู่ในอำนาจของท่าน และท่านก็มีความดำริว่า 'แม้พระสมณะก็ต้องอยู่ในมือ
ของเรา ต้องอยู่ในอำนาจของเรา' แต่ว่า เราไม่ได้อยู่ในมือของท่าน ไม่ได้ตกอยู่
ในอำนาจของท่านเลย'

พกพรหมหายไปจากพระผู้มีพระภาค

[503] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พกพรหมได้กล่าวว่า
'ท่านผู้นิรทุกข์ เรากล่าวสิ่งที่เที่ยงว่า 'เที่ยง' กล่าวสิ่งที่มั่นคงว่า 'มั่นคง' กล่าว
สิ่งที่ยั่งยืนว่า 'ยั่งยืน' กล่าวสิ่งที่แข็งแรงว่า 'แข็งแรง' กล่าวสิ่งที่ไม่มีความเคลื่อน
เป็นธรรมดาว่า 'ไม่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดา' ก็แลสัตว์ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่จุติ ไม่อุบัติในพรหมสถานใด เรากล่าวถึงพรหมสถานนั้นว่า 'พรหมสถานนี้
ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และกล่าวการสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่ง
อื่นซึ่งไม่มีว่า 'การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นไม่มี' สมณพราหมณ์พวกก่อนท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :539 }