เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 8. โกสัมพิยสูตร

นี้คือญาณที่ 1 ที่เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่ง
ภิกษุนั้นบรรลุแล้ว
[494] อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า 'เราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้
ก็ได้ความสงบเฉพาะตน ก็ได้ความดับกิเลสเฉพาะตนหรือ' อริยสาวกนั้น ก็รู้ชัด
อย่างนี้ว่า 'เรา เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ก็ได้ความสงบเฉพาะตน ก็ได้
ความดับกิเลสเฉพาะตน'
นี้คือญาณที่ 2 ที่เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่ง
อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
[495] อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า 'เรามีทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือ
พราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ผู้มีทิฏฐิเช่นนั้นมีอยู่หรือ' อริยสาวกนั้น ก็รู้ชัดอย่างนี้
ว่า 'เรามีทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ ผู้มีทิฏฐิเช่นนั้น
มิได้มี'
นี้คือญาณที่ 3 ที่เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่ง
อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
[496] อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า 'บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีสภาพเช่นใด
ถึงเราก็มีสภาพเช่นนั้น'
บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีสภาพอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีสภาพอย่างนี้ คือ การออกจากอาบัติ
เช่นใดย่อมปรากฏ อริยสาวกต้องอาบัติเช่นนั้นก็รีบแสดง เปิดเผย ทำให้ชัดเจน
อาบัตินั้นในสำนักศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ครั้นแสดง
เปิดเผย ทำให้ชัดเจนแล้วก็สำรวมระวังต่อไป เด็กอ่อนที่นอนหงาย มือหรือเท้า
ถูกถ่านไฟแล้วก็ชักมือหรือเท้ากลับทันที แม้ฉันใด บุคคลผู้มีทิฏฐิก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้มีสภาพอย่างนี้ คือการออกจากอาบัติเช่นใดย่อมปรากฏ อริยสาวกต้องอาบัติ
เช่นนั้น ก็รีบแสดง เปิดเผย ทำให้ชัดเจนอาบัตินั้นในสำนักศาสดา หรือเพื่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :534 }