เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 8. โกสัมพิยสูตร

3. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
4. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก1 ลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มา
โดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหม-
จารีทั้งหลายผู้มีศีลทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้
เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อ
ความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
5. เป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้
ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
6. เป็นผู้มีทิฏฐิโดยทิฏฐิอันประเสริฐ เป็นนิยยานิกธรรม2 เพื่อ
ความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก
ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความ
ไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม 6 ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อ
ความเป็นอันเดียวกัน ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสที่เป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรมนำ

เชิงอรรถ :
1 ไม่แบ่งแยก หมายถึงไม่แบ่งแยกอามิสโดยคิดว่า "จะให้เท่านี้ ๆ" และไม่แบ่งแยกบุคคลโดยคิดว่า "จะให้
แก่คนนั้น ไม่ให้แก่คนนี้" (ม.มู.อ. 2/492/303, องฺ.ฉกฺก.อ. 3/11/99)
2 นิยยานิกธรรม หมายถึงธรรมที่ตัดมูลรากแห่งวัฏฏะ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วนำสัตว์ออกจากวัฏฏะ
(อภิ.สงฺ.อ. 83-100/98)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :532 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 8. โกสัมพิยสูตร

บุคคลผู้ทำตามนั้นออกไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมชั้นยอดที่ยึดคุม
สาราณียธรรม 6 ประการนี้ไว้
ภิกษุทั้งหลาย ยอดอันเป็นส่วนสูงสุดเป็นที่ยึดคุมเรือนยอด แม้ฉันใด ทิฏฐิ
อันไกลจากกิเลสที่เป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรมนำบุคคลผู้ทำตามนั้นออกไป เพื่อ
ความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นธรรมชั้นยอดที่ยึดคุมสาราณียธรรม
6 ประการนี้ไว้

ทิฏฐิคือญาณของอริยสาวก 7 ประการ

[493] ทิฏฐิอันประเสริฐ เป็นนิยยานิกธรรม เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ทำตามเสมอกัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า 'เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลส(กิเลสเป็นเครื่องครอบงำ)
ใดครอบงำแล้ว ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง ปริยุฏฐานกิเลสนั้นที่เรายังละไม่ได้
ในภายในมีอยู่หรือ'
ถ้าภิกษุมีจิตถูกกามราคะครอบงำ ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว
มีจิตถูกพยาบาทครอบงำ ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว มีจิตถูก
ถีนมิทธะครอบงำ ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว มีจิตถูกอุทธัจจ-
กุกกุจจะครอบงำ ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว มีจิตถูกวิจิกิจฉาครอบงำ
ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว มีความขวนขวายในการคิดเรื่องโลกนี้
ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว มีความขวนขวายในการคิดเรื่องโลกหน้า
ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทง
กันอยู่ ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า 'เรามีจิต
ถูกปริยุฏฐานกิเลสใดครอบงำแล้ว ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง ปริยุฏฐานกิเลส
นั้นที่เรายังละไม่ได้ในภายใน มิได้มีเลย เราตั้งจิตไว้ดีแล้ว เพื่อตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย'

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :533 }