เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค]
6. มหาธัมมสมาทานสูตร

มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนมีจิตไม่ปองร้ายผู้อื่น และเพราะการมี
จิตไม่ปองร้ายผู้อื่นเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนมีความเห็นชอบ และเพราะมีความเห็น
ชอบเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
หลังจากตายแล้วเขาย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรมนี้เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็น
วิบากในอนาคต (3)

การสมาทานธรรมที่มีสุขและมีสุขเป็นวิบาก

[481] การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจาก
การฆ่าสัตว์ และเพราะการเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากการลักทรัพย์ และเพราะการ
เว้นขาดจากการลักทรัพย์เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม และ
เพราะการเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากการพูดเท็จ และเพราะการ
เว้นขาดจากการพูดเท็จเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากวาจาส่อเสียด และเพราะการ
เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ และเพราะ
การเว้นขาดจากการพูดคำหยาบเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :522 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค]
6. มหาธัมมสมาทานสูตร

มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ และเพราะการ
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนไม่มีความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของ
ผู้อื่นมาก และเพราะการเว้นขาดจากการไม่มีความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนมีจิตไม่ปองร้ายผู้อื่น และเพราะการมีจิต
ไม่ปองร้ายผู้อื่นเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนมีความเห็นชอบ และเพราะมีความเห็นชอบ
เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรมนี้เรากล่าวว่า มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็น
วิบากในอนาคต (4)
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรม 4 ประการนี้แล

อุปมาของการสมาทานธรรม 4 ประการ

[482] ภิกษุทั้งหลาย
1. เปรียบเหมือนน้ำเต้าขมผสมด้วยยาพิษ บุรุษที่รักชีวิต ยังไม่อยาก
ตาย รักสุขเกลียดทุกข์ มาถึง พวกชาวบ้านบอกเขาว่า 'บุรุษผู้เจริญ
น้ำเต้าขมนี้ผสมด้วยยาพิษ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด น้ำเต้าขม
นั้น จักไม่ทำให้ท่านผู้ดื่มพอใจ ทั้งสี กลิ่น และรส ครั้นท่านดื่ม
เข้าไปแล้วก็จักถึงตาย หรือได้รับทุกข์ปางตาย' บุรุษนั้น ไม่พิจารณา
น้ำเต้าขมนั้นดื่มมิได้วาง น้ำเต้าขมนั้นก็ไม่ทำให้เขาผู้ดื่มพอใจทั้งสี
กลิ่น และรส ครั้นดื่มแล้วพึงถึงตายหรือได้รับทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด
เรากล่าวว่า การสมาทานธรรมนี้ที่มีทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์เป็น
วิบาก ในอนาคต มีอุปมาฉันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :523 }