เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค]
6. มหาธัมมสมาทานสูตร

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[474] "ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ผู้ยังไม่ได้สดับ ไม่ได้พบพระอริยะ
ทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้พบสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่รู้จักธรรมที่ควรเสพ1 ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ควร
คบ2 ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ เมื่อไม่รู้จักธรรมที่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ
ไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ ก็เสพ3ธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่เสพ
ธรรมที่ควรเสพ คบธรรมที่ไม่ควรคบ ไม่คบธรรมที่ควรคบ เมื่อเสพธรรมที่ไม่
ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ควรเสพ คบธรรมที่ไม่ควรคบ ไม่คบธรรมที่ควรคบ
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เจริญยิ่งขึ้น ธรรมที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เสื่อมไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปุถุชนรู้ไม่ถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้พบพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ พบสัตบุรุษ
ทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
รู้จักธรรมที่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ควรคบ รู้จักธรรมที่ไม่
ควรคบ เมื่อรู้จักธรรมที่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ควรคบ รู้จัก
ธรรมที่ไม่ควรคบ ก็ไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ เสพธรรมที่ควรเสพ ไม่คบธรรมที่
ไม่ควรคบ คบธรรมที่ควรคบ เมื่อไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ เสพธรรมที่ควรเสพ
ไม่คบธรรมที่ไม่ควรคบ คบธรรมที่ควรคบ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่
น่าพอใจ ก็เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เจริญยิ่งขึ้น ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะอริยสาวกรู้ถูกต้อง

เชิงอรรถ :
1 ธรรมที่ควรเสพ ในที่นี้หมายถึงธรรมที่ควรให้เกิดขึ้นในสันดานของตน ได้แก่ การคบสัตบุรุษ การฟัง
สัทธรรมและการพิจารณาโดยแยบคาย (ม.มู.อ. 2/474/283, ม.มู.ฏีกา 2/474/358)
2 ธรรมที่ควรคบ ในที่นี้หมายถึงธรรมที่บำเพ็ญมีทานเป็นต้น (ม.มู.อ. 2/474/283, ม.มู.ฏีกา 2/474/
358)
3 เสพ ในที่นี้หมายถึงการประพฤติ การเจริญให้เกิดขึ้น (ขุ.จู.อ. 161/147)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :515 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค]
6. มหาธัมมสมาทานสูตร

การสมาทานธรรม 4 ประการ

[475] ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรม 4 ประการนี้
การสมาทานธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
2. การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
3. การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากในอนาคต
4. การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต
[476] ภิกษุทั้งหลาย
1. บรรดาการสมาทานธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้ไม่รู้จักการสมาทานธรรม
ที่มีทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต ตกอยู่ในอวิชชา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า 'การสมาทานธรรมนี้มีทุกข์ในปัจจุบัน
และมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต' เมื่อไม่รู้จักการสมาทานธรรมเหล่านั้น
ตกอยู่ในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพการสมาทานธรรมนั้น
ไม่ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น เมื่อเสพการสมาทานธรรมนั้น ไม่
ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ ก็เจริญยิ่งขึ้น ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ย่อมเสื่อมไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นรู้ไม่ถูกต้อง
2. บุคคลผู้ไม่รู้จักการสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบันแต่มีทุกข์เป็นวิบาก
ในอนาคต ตกอยู่ในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า 'การ
สมาทานธรรมนี้มีสุขในปัจจุบันแต่มีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต' เมื่อไม่
รู้จักการสมาทานธรรมนั้นแล้วตกอยู่ในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริง จึงเสพการสมาทานธรรมนั้น ไม่ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น
เมื่อเสพการสมาทานธรรมนั้น ไม่ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เจริญยิ่งขึ้น ธรรม
ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ย่อมเสื่อมไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลนั้นรู้ไม่ถูกต้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :516 }