เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 5. จูฬธัมมสมาทานสูตร

อาหารจากปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่
รับอาหารคร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหารของคน 2 คนที่
กำลังบริโภค ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงที่กำลังให้บุตรดื่ม
นม ไม่รับอาหารของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับอาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับ
อาหารในที่เลี้ยงสุนัข ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ ไม่กินปลา
ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เขารับอาหารในเรือนหลังเดียว
ยังชีพด้วยข้าวคำเดียว รับอาหารในเรือน 2 หลัง ยังชีพด้วยข้าว 2 คำ ฯลฯ
รับอาหารในเรือน 7 หลัง ยังชีพด้วยข้าว 7 คำ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย 1
ใบ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย 2 ใบ ฯลฯ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย 7 ใบ
กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน 1 วัน กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน 2 วัน ฯลฯ กิน
อาหารที่เก็บไว้ค้างคืน 7 วัน ถือการบริโภคอาหารตามวาระ 15 วันต่อมื้อเช่นนี้
อยู่ด้วยประการอย่างนี้
ปริพาชกนั้นเป็นผู้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือย
เป็นอาหาร กินกากข้าวเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กินรำเป็นอาหาร กิน
ข้าวตังเป็นอาหาร กินกำยานเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กินมูลโคเป็นอาหาร
กินเหง้าและผลไม้ป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพอยู่ ปริพาชกนั้นนุ่งห่มผ้า
ป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน นุ่งห่มผ้าห่อศพ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้
นุ่งห่มหนังเสือ นุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ นุ่งห่มผ้าคากรอง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้กรอง
นุ่งห่มผ้าผลไม้กรอง นุ่งห่มผ้ากัมพลผมมนุษย์ นุ่งห่มผ้ากัมพลขนสัตว์ นุ่งห่มผ้า
ขนปีกนกเค้า เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือถือการถอนผมและหนวด ยืนอย่างเดียว
ไม่ยอมนั่ง เดินกระโหย่งคือถือการเดินกระโหย่ง ถือการนอนบนหนามคือนอนบน
ที่นอนที่ทำด้วยหนาม ถือการลงอาบน้ำวันละ 3 ครั้ง1 ถือการย่างและการอบกาย
หลายรูปแบบเช่นนี้อยู่ ด้วยประการอย่างนี้ หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรมนี้เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์
เป็นวิบากในอนาคต

เชิงอรรถ :
1 ดูข้อ 155 (มหาสีหนาทสูตร) หน้า 158-159 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :512 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 5. จูฬธัมมสมาทานสูตร

การสมาทานธรรมที่มีทุกข์แต่มีสุขเป็นวิบาก

[471] การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากในอนาคต
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้าโดยปกติ เสวยทุกข์โทมนัสอัน
เกิดจากราคะเนือง ๆ เป็นผู้มีโทสะกล้าโดยปกติ เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดจากโทสะ
เนือง ๆ เป็นผู้มีโมหะกล้าโดยปกติ เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดจากโมหะเนือง ๆ
บุคคลนั้นมีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง เป็นผู้มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่
ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ หลังจากตายแล้ว เขาไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรมนี้เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็น
วิบากในอนาคต

การสมาทานธรรมที่มีสุขและมีสุขเป็นวิบาก

[472] การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีราคะกล้าโดยปกติ ไม่เสวยทุกข์โทมนัส
อันเกิดจากราคะเนือง ๆ เป็นผู้ไม่มีโทสะกล้าโดยปกติ ไม่เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิด
จากโทสะเนือง ๆ เป็นผู้ไม่มีโมหะกล้าโดยปกติ ไม่เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดจาก
โมหะเนือง ๆ บุคคลนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุ
ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ... บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ... อยู่
หลังจากตายแล้ว เขาไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :513 }