เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 5. จูฬธัมมสมาทานสูตร

พวกอารามเทวดา1 วนเทวดา2 รุกขเทวดา3 และพวกเทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้
อันเป็นโอสถหญ้าและต้นไม้เจ้าป่า ผู้เป็นมิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต4 ของเทวดาที่
สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้นต่างก็พากันมาปลอบโยนอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้เจริญ อย่ากลัวเลย
ท่านผู้เจริญ อย่ากลัวเลย เมล็ดพืชแห่งเถาย่านทรายนั้น บางทีนกยูงอาจกลืนกิน
บ้าง เนื้ออาจเคี้ยวกินบ้าง ไฟป่าอาจไหม้บ้าง พวกคนทำงานในป่าอาจถอนบ้าง
ปลวกอาจกัดกินบ้าง หรือไม่งอกขึ้น'
แต่เมล็ดพืชแห่งเถาย่านทรายนั้นนกยูงก็ไม่กลืนกิน เนื้อก็ไม่เคี้ยวกิน ไฟป่า
ก็ไม่ไหม้ พวกคนทำงานในป่าก็ไม่ถอน ปลวกก็ไม่กัดกิน ยังคงเป็นพืชต่อไป ถูก
เมฆฝนตกรดแล้ว ก็งอกขึ้นด้วยดี เป็นเถาย่านทรายเล็กและอ่อนมีย่านห้อยย้อย
เข้าไปอาศัยต้นสาละ'
เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้นจึงกล่าวว่า 'ทำไมพวกท่านอารามเทวดา วนเทวดา
รุกขเทวดา และเทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้อันเป็นโอสถหญ้าและต้นไม้เจ้าป่า ผู้เป็นมิตร
อำมาตย์ ญาติสาโลหิตเมื่อเห็นอนาคตภัยในเมล็ดพืชแห่งเถาย่านทรายจึงพากันมา
ปลอบโยนอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้เจริญ อย่ากลัวเลย ท่านผู้เจริญ อย่ากลัวเลย เมล็ด
พืชแห่งเถาย่านทรายนั้น บางทีนกยูงอาจกลืนกินบ้าง เนื้ออาจเคี้ยวกินบ้าง ไฟป่า
อาจไหม้บ้าง พวกคนทำงานในป่าอาจถอนบ้าง ปลวกอาจกัดกินบ้าง หรือไม่
งอกขึ้น' เถาย่านทรายนี้ เล็กและอ่อนมีย่านห้อยย้อยอยู่ มีสัมผัสอันนำความสุข
มาให้ เถาย่านทรายนั้น เลื้อยพันต้นสาละนั้น ครั้นเลื้อยพันแล้ว ตั้งอยู่ข้างบน
เหมือนร่ม แตกเถาอยู่ข้างล่าง ทำลายลำต้นใหญ่ ๆ ของต้นสาละนั้นเสีย
เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า 'พวกท่านอารามเทวดา วนเทวดา
รุกขเทวดา และพวกเทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้อันเป็นโอสถหญ้าและต้นไม้เจ้าป่า ผู้เป็น
มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เมื่อเห็นอนาคตภัย ในเมล็ดพืชแห่งเถาย่านทรายนี้

เชิงอรรถ :
1 อารามเทวดา หมายถึงเทวดาผู้สถิตอยู่ในสวนไม้ดอกและไม้ผล (ม.มู.อ. 2/469/279)
2 วนเทวดา หมายถึงเทวดาผู้สถิตอยู่ในป่าอันธวันและป่าสุภควันเป็นต้น (ม.มู.อ. 2/469/279)
3 รุกขเทวดา หมายถึงเทวดาผู้สถิตอยู่ที่ต้นสะเดาเป็นต้น ซึ่งเขารักษาไว้อย่างดี (ม.มู.อ. 2/469/279)
4 ดูเชิงอรรถที่ 3 ข้อ 65 (อากังเขยยสูตร) หน้า 57 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :510 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 5. จูฬธัมมสมาทานสูตร

จึงพากันมาปลอบโยนอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้เจริญ อย่ากลัวเลย ท่านผู้เจริญ อย่า
กลัวเลย พืชแห่งเถาย่านทรายนั้น บางทีนกยูงอาจกลืนกินบ้าง เนื้ออาจเคี้ยวกินบ้าง
ไฟป่าอาจไหม้บ้าง พวกคนทำงานในป่าอาจถอนบ้าง ปลวกอาจกัดกินบ้าง หรือ
ไม่งอกขึ้น' เรานั้นเสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน เพราะพืชแห่งเถาย่าน
ทรายเป็นเหตุ' แม้ฉันใด
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า 'โทษในกามทั้ง
หลายไม่มี' ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมถึงความเป็นผู้ดื่มด่ำในกาม
ทั้งหลาย บำเรอกับพวกนางปริพาชิกาที่เกล้ามวยผมและกล่าวอย่างนี้ว่า 'ทำไม
ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้น เมื่อเห็นอนาคตภัยในกามทั้งหลาย จึงกล่าวถึงการ
ละกามทั้งหลาย บัญญัติการกำหนดรู้ในกามทั้งหลาย (อันที่จริง) การสัมผัสแขน
อันมีขนอ่อนนุ่มของนางปริพาชิกานี้ เป็นความสุข' ย่อมถึงความเป็นผู้ดื่มด่ำใน
กามทั้งหลาย ครั้นถึงความเป็นผู้ดื่มด่ำในกามทั้งหลาย หลังจากตายแล้ว จะไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าเผ็ดร้อนในที่ที่ตน
เกิดนั้น และกล่าวอย่างนี้ว่า 'ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้นเมื่อเห็นอนาคตภัยใน
กามทั้งหลายนี้แล จึงกล่าวถึงการละกามทั้งหลาย บัญญัติความกำหนดรู้กาม
ทั้งหลาย อันที่จริงพวกเรานี้ ย่อมเสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าเผ็ดร้อนเพราะกาม
เป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเหตุ'
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรมนี้เรากล่าวว่า มีสุขในปัจจุบันแต่มีทุกข์เป็น
วิบากในอนาคต

การสมาทานธรรมที่มีทุกข์และมีทุกข์เป็นวิบาก

[470] การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
เป็นอย่างไร
คือ ปริพาชกบางคนในโลกนี้เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) เป็นผู้ไม่มีมารยาท
เลียมือ เขาเชิญให้ไปรับอาหารก็ไม่ไป เขาเชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุด ไม่รับ
อาหารที่เขาแบ่งไว้ ไม่รับอาหารที่เขาทำเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ไม่รับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :511 }